NC. จำได้ดีว่าตอนที่เขียนกระทู้ประชาสัมพันธ์ให้ AF Farm ที่ว่า “หากจะว่าไปแล้วคงไม่มีที่ใดในเมืองไทยที่จะมี Full Helmet Cross Back Golden ให้ดูมากเท่ากับที่ AF Farm” กระทู้นั้นต้องยอมรับว่า Hot มากๆ แต่ทว่าหลังจากนั้นไม่นานเท่าไหร่ก็มีกระทู้ที่ Hot มากยิ่งกว่าเพราะมีเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่งเขียนกระทู้โดยตั้งชื่อว่า “นำ 13 โล้นทองคำมาให้เพื่อนสมาชิก Aro4u ได้รับชมกัน”
=> สิ่งนี้เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า ไม่ใช่แต่เฉพาะที่ AF Farm เท่านั้นที่มี Full Helmet เจ๋งๆ แต่ในมือของเพื่อนสมาชิก Aro4u ท่านนี้ก็ “มีดี” กับเขาเหมือนกัน และที่ฮือฮาสร้าง Click Rate สุด Hot ร้อนแรงมากที่สุดก็เพราะผู้เป็นเจ้าของไม่ใช่ฟาร์ม ไม่ใช้ผู้ค้า แต่เป็นผู้เลี้ยงที่รักชอบปลาอโรวาน่ามากที่สุดคนหนึ่งในเมืองไทยครับ วันนั้น NC. จำได้ว่าอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ (ไปทัวร์เชียงใหม่ที่บ้านคุณยิ้ม) เมื่อได้เห็นกระทู้แล้วจึงได้โทรสอบถามพี่แอร์ (Oakink)
“สวัสดีครับพี่แอร์ ฮั่นแน่ ไม่ยอมกันเลยนะครับ เห็นผมลงปลา Full Helmet ที่ AF Farm ยอมไม่ได้ต้องงัดของดีที่เก็บไว้มาโชว์เลยใช่มั้ยครับ !!”
“อิอิ คุณแนนนี่รู้ทันเสมอเลย”
“มีของดีไม่เคยบอกเลยนะครับ”
“แหม มันก็ไม่ขนาดนั้น แต่จริงๆ ที่แอบๆ ไว้ก็ยังมีอีกนะ จะว่าไปผมเองก็รู้สึกน้อยใจ”
“เรื่องอะไรครับพี่แอร์”
“คุณแนนนี่ไปทัวร์ทั่วทุกจังหวัดทั้งเหนือ ทั้งใต้ แต่ไม่ยักจะมาเที่ยวบ้านผมซักกะที นี่ผมชวนคุณแนนมาตั้งแต่ปีที่แล้วๆ ให้รอเป็นปีแบบนี้มันน่าน้อยใจยิ่งนัก”
“โอววว ขนาดนั้นเชียวพี่แนน ได้ครับ งั๊นเสร็จจาก Trip เชียงใหม่ผมจะบินตรงไปหาพี่แอร์เลย ไปดูให้เห็นกับตาว่าพี่แอร์มีแอบซุ่มอะไรไว้บ้าง ผมจะไปแอบไปถ่าย “ของลับ” ของแอร์แล้วแพร่กระจายให้เพื่อนสมาชิก Aro4u ของผมได้รับทราบ”
“เย้ยยย ขนาดนั้นเลย ได้ครับ ผมยินดีต้อนรับเสมอ”
จากนั้นเมื่อเสร็จจาก Trip ที่เชียงใหม่ NC. ก็กลับมาบ้านเพื่อเตรียมแผนการเดินทางไปทัวร์ที่จังหวัดหนองคายต่อ งานนี้ค่อนข้างเหนื่อยครับเพราะพี่แอร์บอก NC. เพียงแค่ว่า "จะมาบ้านผม คุณแนนต้องเตรียมเวลาอย่างน้อย 2 วันกับ 1 คืนเต็มๆ นะครับ แต่ถ้าจะให้ดี เอาแบบละเอียดยิบ เก็บข้อมูลให้ได้มากๆ ยังไงคงต้องมี 3 วัน 2 คืน” => ต้องเตรียมตัวอย่างกับทัวร์ฟาร์มปลาที่ต่างประเทศขนาดนี้ สงสัย Trip นี้ NC. ต้อง “จัดหนัก” เสียหน่อยแล้ว
แต่ทว่าในระหว่างที่สนทนาทางโทรศัพท์กับพี่แอร์ เป็นเวลาที่อยู่เชียงใหม่ และคุณยิ้มก็แอบฟังอยู่ข้างๆ การพูดคุยระหว่าง NC. กับพี่แอร์เหมือนเป็นสิ่งบิวท์ช่วยเร้าให้คุณยิ้มมีอารมณ์ร่วมด้วย แน่นอนครับเมื่อจบสาย “ความอยากไปอย่างที่สุด” ของคุณยิ้มจึงได้บังเกิด และนี่ก็เป็นโครงการอันยิ่งใหญ่ที่คุณยิ้มต้องทำให้สำเร็จให้ได้ นั่นก็คือ “โครงการหนีเมียทัวร์” !!
=> NC. รอคุณยิ้มอ้อนภรรยาอยู่นานหลายวัน ท้ายที่สุดก็ได้รับการอนุมัติให้ไปร่วมทัวร์ได้ ดังนั้น “ทัวร์หนองคาย” จึงได้กำเนิดเกิดขึ้น ใช่ครับ สรุปว่า Trip NC. ไม่ได้เดินทางไปคนเดียว แต่มีเพื่อนไปด้วย เอาล่ะครับ พร้อมที่จะชมความสนุกอย่างที่สุดตลอดทัวร์นี้แล้วหรือยัง ? พร้อมแล้วตาม NC. ไป “ทัวร์บ้านๆ ณ หนองคาย” ด้วยกันเลย !!
Zone 1 : Main Tank – Giant Creature x 28
1. ตู้นี้เรียกว่า “บ่อพระเอก” ที่แน่นอนว่าไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะทุกครั้งที่ใครต่อใครกล่าวถึงพี่แอร์ Oakink ก็ล้วนแล้วจะต้องถามถึง “บ่อพระเอก” ใบนี้เสมอ NC. ขอออกตัวก่อนเลยนะครับ แม้จะมามาเป็นลำดับท้ายๆ ที่ได้มีโอกาสเก็บภาพมาฝาก แต่มุมกล้อง ข้อมูล + คำบรรยาย รับรองว่าเป็น Style การเขียนของ NC. แบบเข้าใจได้ง่ายๆ ที่ทุกท่านติดตามชมอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
2. บ่อกระจกใบนี้มีขนาดกว้าง 2.5 เมตร ยาว 4.5 เมตร และสูง 1.5 เมตร ระดับน้ำในบ่อสูง 1 เมตร ปริมาตรน้ำเฉพาะในส่วนของบ่อกระจกอยู่ที่ประมาณ 10 ตัน (และยังมีส่วนของระบบกรองอีก 7 ตัน รวมแล้ว 17 ตัน) ตัวบ่อเป็นคอนกรีตติดกระจก 3 แผ่นรอบด้าน (เป็นกระจกเทมเปอร์ + ลามิเนท) คือ ด้านหน้า 1 แผ่น และด้านข้าง 2 แผ่น
– กระจกบานหน้า มีความยาว 4 เมตร x กว้าง 1 เมตร (ความหนา 19 มม. + 19 มม.) รวมความหนาประมาณ 4 ซม.
– กระจกบานข้าง (ทั้ง 2 ด้าน) มีความยาว 2.2 เมตร x กว้าง 1 เมตร (ความหนา 19 มม. + 19 มม.) รวมความหนาประมาณ 4 ซม. เช่นกัน
*** ด้านล่างของบ่อที่เห็นเป็นประตูไม้นั่นคือส่วนของ “ระบบกรอง” ซึ่งเดี๋ยว NC. จะแง้มให้ดูทีละช่องแล้วอธิบายอย่างละเอียดในตอนต่อไปครับ ส่วนประตูไม้ล้อมรอบด้านบนนั้นเป็นโซนหลอดไฟ และเป็นพื้นที่สำหรับกันปลากระโดด
3. สอบถามงบประมาณในการสร้างบ่อ พี่แอร์ตอบว่า “รวมทุกอย่างนับตั้งแต่ศูนย์จนเสร็จสมบูรณ์ ผมจ่ายไปประมาณ 5xx,xxx ครับคุณแนน” ฟังแล้วแทบหงายหลังเหมือนกัน (พอๆ กับค่าตู้ปลาทั้งบ้านของ NC. เลย) => ยังไม่ทันที่ NC. จะตั้งสติพี่แอร์ก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “นี่เฉพาะบ่อเลี้ยง และบ่อกรอง + อุปกรณ์นะครับ ไม่รวมปลา… ถ้ารวมปลาสงสัยต้องมี…” => “หยุดก่อนครับพี่ หยุดก่อน พอแล้วไม่กล้าได้ยิน ผมขวัญอ่อนเกี่ยวกับเรื่องตัวเลข เดี๋ยวหัวใจวาย”
4. คงมีเพื่อนสมาชิกหลายท่านสงสัยเหมือนกับ NC. ว่าในบ่อนี้มีปลาทั้งหมดกี่ตัว (รู้สึกว่าพี่แอร์เองก็คงจะไม่เคยเปิดเผยข้อมูลนี้ที่ไหน ? หรืออาจจะเผยแต่เผยไม่หมด) วันนี้ NC. แอบถามมาให้อย่างละเอียดครับ เรียกได้ว่าเปิดกรุค้นใบเซอร์พิสูจน์กันเลย อิอิ
“พี่แอร์ครับ พอจำได้ไหมว่าบ่อนี้มีปลาทั้งหมดกี่ตัวครับ ?”
“ถ้าผมจำไม่ผิด นับครั้งล่าสุดได้ 28 ตัวครับ”
“มีสายพันธุ์อะไรบ้างครับ ?”
“มี RTG อยู่ตัวหนึ่งเป็น Mahato Golden F4 นอกนั้นก็เป็นปลาแดง และทองมาเลย์ครับ”
“จำนวนที่แน่นอนได้มั้ยครับ ?”
“เอางั๊นเลยนะ มีการท้าภูมิความรู้ ได้สิ ตอบให้เลยว่ามีปลาแดง 18 ตัว ทองมาเลย์ 9 ตัวและทองอินโด 1 ตัวครับ”
“อูวว ความจำเป็นเลิศ” !!
5. แต่คำถามเท่านี้ NC. ว่ามันยังไม่ถึงใจ งั๊นถามใหม่ดีกว่า เอาแบบว่า “ถามจัดหนัก” กันไปเลย
“ปลาแดงมาจากฟาร์มอะไรบ้างครับพี่แอร์”
“เย้ยยย ถามงี๊เลยหรือ เอ้า !! ถามมาก็ตอบให้” (แล้วพี่แอร์ก็แอบเข้าไปในห้องทำงานเพื่อเปิดกรุสมบัติ)
“พร้อมยังครับพี่ ?”
“มาเลย => ปลาแดงในบ่อนี้มีดังนี้ คุณแนนจดจำให้ดีนะครับ ถามอีกทีผมอาจจะตอบไม่ได้
– Munjul Ultra Red F5 (PT. Munjul Prima Utama, Indonesia) จำนวน 2 ตัว
– Ambawang Super Blood Red (PT. Sinar Ambawang, Indonesia) จำนวน 3 ตัว
– ShelookRED (PT. Inti Kapuas International, Indonesia) จำนวน 6 ตัว
– TreasuREDragon (PT. Inti Kapuas International, Indonesia) จำนวน 3 ตัว
– Yuki Super Red King (Yuki Breeding Farm, Indonesia) จำนวน 2 ตัว แล้วก็
– Extreme Red (Kim Kang Aquatics, Malaysia) จำนวน 2 ตัว
… 2+3+6+3+2+2 = 18 ตัวครบนะ ?”
6. คำถามต่อไปก็คือ “สายพันธุ์สีทอง” แน่ล่ะ รู้สีแดงแล้วสีทองก็ต้องมีเพื่อนสมาชิกอยากรู้เป็นแน่ !!
“พี่แอร์ครับ แล้วสายพันธุ์สีทองล่ะครับ ? จำได้ไหม ?”
“พอได้ครับคุณแนน สีทองค่อนข้างจะแม่นกว่า… รู้สึกจะมี
– Mahato Golden F4 (PT. Silva Dena Arwana, Indonesia) จำนวน 1 ตัวและ ปลาตัวนี้เป็น RTG ตัวเดียวในบ่อครับ
– Full Color Cross Back (Kim Kang Aquatics, Malaysia) จำนวน 2 ตัว
– Full Color Golden Head Cross Back (Kim Kang Aquatics, Malaysia) จำนวน 1 ตัว
– Malaysian Golden Cross Back (Everise Aquacultures, Malaysia) จำนวน 2 ตัว
– Blue Base Cross Back (Qian Hu Breeding Farm, Singapore) จำนวน 2 ตัว แล้วก็
– 24K Royal Billiance Golden Cross Back (Pei Feng Aquatics, Singapore) จำนวน 2 ตัว
… 1+2+1+2+2+2 = ทองมาเลย์ 9 และทองอินโดอีก 1 เป็น 10 ตัวพอดี”
“พี่แอร์พอจำราคาปลาได้ไหมว่าแต่ละตัวนี่ซื้อมาเท่าไหร่ ?”
“ก็ถือว่าแรงอยู่ครับ เพราะได้มาเป็นปลาใหญ่ทั้งนั้น รู้สึกจะเริ่มต้นที่ 3x,xxx – 2xx,xxx ครับ”
7. เรื่องอาหาร และการเปลี่ยนถ่ายน้ำ NC. เชื่อว่ามีเพื่อนสมาชิกหลายท่านให้ความสนใจและอยากทราบเช่นกัน NC. จึงเก็บข้อมูลส่วนนี้มาให้เป็นพิเศษครับ
“ปลาเยอะขนาดนี้ พี่แอร์ให้อาหารยังไงครับ ?”
“ผมให้กินวันละ 2 มื้อครับ มื้อแรก 8 โมงเช้า มื้อที่ 2 เวลา 5 โมงเย็น ให้ตรงกันทุกวัน อาหารเช้า (Breakfast อูวส์ส์ เรียกอย่างกับให้คนกิน ) ซึ่งถือเป็นมื้อหลักให้กิน “ปลาทูนหั่นชิ้น” ส่วนอาหารเย็น (Party Meal พี่แอร์ใช้ศัพท์หรูเช่นกัน) ให้กินหลายอย่างครับแล้วแต่ช่วงนั้นจะมี รวมๆ ก็มีทั้งกุ้งฝอย กุ้งชิ้น จิ้งหรีด ลูกอ๊อด ลูกกบ ลูกเขียดและอื่นๆ”
“แล้วการเปลี่ยนถ่ายน้ำล่ะครับ ?”
“ใช้ระบบ Over Flow เติมน้ำล้น โดยน้ำจากท่อประปาไหลผ่านเครื่องกรองคลอรีนแล้วไปเก็บในถังเก็บน้ำ ก่อนส่งต่อเข้าไปยังบ่อปลาด้านบน ปริมาณน้ำส่วนที่เกินจะไหลลงจาน Over Flow ขนาด 12 นิ้วที่อยู่ด้านซ้ายบน และขวาบนของบ่อ 1 วัน Flow น้ำประมาณ 1 ตัน คิดเป็น 10% ของน้ำในบ่อเลี้ยง หรือ 7% ของปริมาณทั้งหมด ค่าน้ำผมก็เคยคำนวนนะครับ ถ้าจำไม่ผิดค่าน้ำที่ Over Flow ไป 1 ตันเท่ากับ 20 บาทครับ”
“เอาล่ะครับ มาถึงคำถามสุดท้ายแล้ว ในบ่อปลาบ่อนี้พี่แอร์มีใช้หลอดไฟอะไรบ้างครับ ?”
“ก็มีหลอด Kowa 12000K จำนวน 6 หลอดๆ Sylvania Gro Lux จำนวน 2 หลอด และหลอด Metal Halide 1 หลอด ทุกหลอดจะเปิดเฉพาะตอนกลางคืนนะครับ กลางวันผมไม่เปิดเพราะให้สวยจากแสงแดดตามธรรมชาติครับ ส่วนหลอด Metal Halide นี่ผมก็ไม่ได้เปิดทุกคืน จะเปิดเฉพาะตอนอารมณ์เปลี่ยวเท่านั้นเอง”
8. ปิดท้ายภาพรวมของ “บ่อพระเอก” ด้วยชุดอุปกรณ์ด้านหลังบ่อนะครับ ต้องยอมรับว่าพี่แอร์มเตรียมพร้อมอย่างดีเยี่ยมที่สุดไม่ว่าจะเป็นปั๊มลมขนาดใหญ่ 4 ตัว (ใช้เฉพาะบ่อนี้เท่านั้น 2 ตัวทำงานให้บ่อปลา อีก 2 ตัวทำงานให้บ่อกรอง แต่ละตัวสลับกันทำงานตัวละครึ่งชั่วโมงโดยมี Timer เป็นตัวควบคุมเวลา) ตู้สำรองไฟฟ้า และ Heater แบบบ้านๆ รุ่นแรก (รุ่นต้มน้ำร้อน => ตอนนี้มีรุ่น Update ใหม่ล่าสุดเรียกว่า “รุ่นแท่งทำความร้อน” แล้วนะครับ NC. เก็บภาพมาด้วย แล้วจะนำมาให้ชมในตอนต่อๆ ไป)
และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลที่ NC. ได้มาจากพี่แอร์ในส่วนของบ่อเลี้ยง เป็นไงบ้างครับ ? => แค่ตอนแรก NC. ก็เชื่อว่าเพื่อนสมาชิก Aro4u ทุกท่านก็ “เต็มอิ่ม + จุใจ” กับข้อมูลและภาพประกอบแล้ว ในตอนต่อไป NC. จะพาไปเจาะลึก “ช่วงล่าง” ซึ่งเป็น “ระบบกรอง” ของบ่อนี้ รับรองว่ารอบนี้จะขยี้เข้าไปทุกหลืบรอกซอกมุมเลย ส่วนไหนเป็นส่วนไหน ? แต่ละช่องมีหน้าที่อะไร ? น้ำไหลวนจากไหนไปไหน ? ทุกคำถามมีคำตอบแน่นอน โปรดติดตามชมในตอนหน้านะครับ ไม่นานเกินรอ มะรืนนี้เจอกัน !!