ต่อจากกระทู้นี้นะครับ
http://www.aro4u.com/articles-detail/677
Plan วันต่อไปของเราคือตื่นนอนตั้งแต่ตี 4 ครึ่งเพื่อจะเข้า Check in ที่สนามบินให้ทัน วันนี้เราต้องบินไปที่เมืองเมดัน บนเกาะสุมาตรา แต่ทว่า ณ เมืองปอนเตียนัก บนเกาะกาลิมันตัน ที่เราพักพิงอยู่นี้ไม่มี Flight บินตรงจากที่นี่ไปเมืองเมดัน ดังนั้นเราจึงต้องบินจากปอนเตียนักกลับไปที่จาร์กาต้า อันเป็นเมืองหลวงก่อน (ใช้เวลาบินกลับ 2 ชั่วโมง) แล้วจึงบินต่อไปยังเมืองเมดันอันเป็นจุดหมายของเราในวันนี้ (1 ชั่วโมงครึ่ง) => NC. นอนหลับบนเครื่องบินไม่ค่อยได้ ดังนั้นตลอด 3 ชั่วโมงครึ่งจึงชวนคุณ Top คุยอยู่ตลอด… รำคาญรึเปล่าไม่รู้ แต่ช่วยอยู่เป็นเพื่อนกันก่อน
เมื่อไปถึงสนามบินที่เมืองเมดัน เราสองคนก็รอ Mr. Buhan (บูฮาน) ผู้เป็นเจ้าของฟาร์ม CV. Juanda Aquarium มารับ ยืนรออยู่นานพอสมควร (ประมาณว่าหากันไม่เจอ ติดต่อกันไม่ได้) เมื่อได้เจอคุณ Top แทบจะกระโดดกอดเจ้าของฟาร์ม เพราะที่เมืองนี้ เราเองก็มาป็นครั้งแรก ไม่มีความคุ้นเคย ไม่รู้จักใคร ถ้าทิ้งกัน ถ้าไม่มีใครมารับล่ะยุ่งเลย… จากนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา Mr. Buhan ก็เริ่มพาเรา 2 คน On Tour ด้วยกันเริ่มจากร้านปลาสวยงามของเขาก่อน เพราะอยู่ห่างจากสนามบินเพียง 5 นาทีเท่านั้นเอง ร้านปลาสวยงามของ Mr. Buhan นี้มีชื่อว่า CV. Juanda Aquarium (ชื่อร้าน กับชื่อฟาร์มเป็นชื่อเดียวกัน)
=> Mr. Buhan เติบโตจากการเป็นเจ้าของร้านปลาสวยงามขนาดเล็ก จากนั้นก็พัฒนาศักยภาพของตัวเองเรื่อยมาจนสามารถทำการเพาะพันธุ์ปลาอโรวาน่าได้ และแม้วันนี้เขาจะทำการเพาะพันธุ์ปลาอโรวาน่าได้แล้ว แต่ก็ยังคงทำร้านปลาสวยงามนี้ต่อไป นั่นก็เพราะเป็นอาชีพที่เขารักมาตั้งแต่จุดเริ่มต้นครับ
ตอนที่อยู่ในร้าน NC. ไม่ได้ถ่ายภาพเพราะกล้องถูกเก็บไว้ในรถ แต่ก็ไม่มีอะไรจะนำมาฝากเพื่อนสมาชิก Aro4u ได้รับชมเป็นพิเศษ ดังนั้นไม่ต้องห่วงว่าจะพลาดชมของดีไป (ถ้ามี NC. คงวิ่งกลับไปเอากล้องเก็บภาพมาฝากแน่นอน) อยู่ที่ร้านของ Mr. Buhan นานประมาณครึ่งชั่วโมงก็ได้เวลาเดินทางไปยังฟาร์มที่ทำการเพาะพันธุ์ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมงครับ แน่นอนนอนว่าที่นั่นมี “เป้าหมาย” ของการเดินทางของเราในครั้งนี้ และเป้าหมายที่ว่านี้ก็คือการพิจารณาคุณภาพปลาในสายพันธุ์ Sumatra Golden (RTG จากเกาะสุมาตรา) ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อกลับมายังประเทศไทย
142. คุณ Top ให้ข้อมูล NC. ว่า
“คุณแนน ก่อนการเดินทางมาที่นี่ Mr. Buhan บอกผมว่ามี RTG ให้ผมคัดเลือกได้ประมาณ 300 ตัว ก็นับเป็นตัวเลขที่น่าสนใจและคุ้มค่ากับการลงทุนเดินทางไป ยังไงก็เดี๋ยวเราไปดูด้วยกันครับ”
และเมื่อมาถึงที่ฟาร์มแล้ว คุณ Top ก็แจ้ง NC. ว่า
“คุณแนน จำนวนลูกปลามี 300 จริงครับ แต่มีคนมาเลเซียจองไปแล้ว 50 ตัว ดังนั้นเหลือเพียง 250 ตัว และใน 250 ตัวนี้เป็นตัวจิ๋วที่ไข่พึ่งยุบถึง 100 ตัว ดังนั้นเราเหลือไซส์ลูกปลาที่เลือกซื้อได้เพียง 150 ตัวครับ”
NC. ตอบว่า “ไม่เป็นไรครับคุณ Top 150 ตัวก็ 150 ตัวไม่น้อยเกินไป ลงมือคัดเลือกได้เลยครับ”
ว่าแล้วคุณ Top ก็เริ่มทำการคัดเลือก เพื่อสมาชิกตามผมไปชมบรรยากาสการคัดเลือกกันได้เลย
143. คุณ Top มีหน้าที่จิ้มเป้าหมาย ส่วน Mr. Buhan มีหน้าที่จัด Traffic แล้วให้ลูกน้องทำการจับต้อนปลาตัวที่คุณ Top หมายตาไว้ไปแยกในตู้อีกใบหนึ่ง แน่นอนครับ NC. มีหน้าที่ให้คำปรึกษา + ให้กำลังใจ และที่สำคัญที่สุดคือ “ถ่ายภาพเก็บไว้”
144. เนื่องด้วยฟาร์ม CV. Juanda Aquarium แห่งนี้เป็นฟาร์มที่ออกแนว Traditional (ดั้งเดิม + อนุรักษ์นิยม) ดังนั้นเรื่องอุปกรณ์จึงเป็นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตู้ปลาทุกใบไม่มีการใช้หลอดไฟ รวมถึงตู้ปลา RTG ตัวน้อยที่คุณ Top กำลังทำการคัดเลือกอยู่นี้ด้วยเช่นกัน สิ่งที่ช่วยได้ ณ เวลานี้ก็คือ “ไฟฉาย” ครับ ส่องไปก็คัดไป กว่าจะได้มาแต่ละตัวทั้งก้ม ทั้งเงย ทั้งลุก นั่งนั่ง จนปวดเมื่อยระบมตัว แต่ NC. ขอยอมรับคุณ Top จากใจว่าทุ่มเทจริงๆ คัดกันแบบ “ตัวต่อตัว” เลย ถ้าเป็นเรา ลุกๆ นั่งๆ + ยื่นส่งไฟฉายแบบนี้ได้ซัก 5-6 ตัวคงหยุดคัดแล้วเหมาหมด ~~!!
*** ตอนที่ NC. มีโอกาสไปคัดปลาสวย Best Selected ที่ฟาร์มของคุณ Top ก็มี Feeling ไม่ต่างกัน… ฟาร์มออกใหญ่โต แต่ไม่มีหลอดไฟสำหรับปลาสวยงามให้ซักหลอด ซักตู้ มีแต่เพียงความมืดมน ไฟฉาย และยุงเท่านั้นเอง ตอนนี้ NC. เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่าจะได้ปลาสวยมาครอบครองเลี้ยงดู ชีวิตต้องสู้แบบนี้นี่เอง (และเข้าใจ Feeling ของคุณ Top ณ เวลาที่อยู่ฟาร์ม CV. Juanda Aquarium อย่างแท้จริง)
145. หลังๆ เริ่มเหนื่อย และตาลายเลยเลือกทีละ 3-4 ตัว => ดูหน้าตาของคุณ Top สิครับ ภูมิใจและมีความสุขขนาดไหน
146. ภาพบนคือตัวอย่างปลา RTG (Sumatra Golden) ที่คุณ Top ทำการคัดเลือกไว้ ขนาดปลาประมาณ 4 นิ้ว หน้าตาดี สีสันเข้มสวยตั้งแต่เล็กครับ ส่วนภาพล่างเป็นภาพที่คุณ Top ถ่ายคู่กับ Mr. Buhan เจ้าของฟาร์ม พร้อมด้วยลักษณะหน้าตาของใบรับรองสายพันธุ์จากฟาร์ม CV. Juanda Aquarium แห่งนี้
สำหรับวันนี้ NC. ขอจบแต่เพียงเท่านี้ ในตอนหน้าจะพาไปชมบ่อเพาะพันธุ์ Sumatra Golden ในฟาร์มแรก และบ่อเพาะพันธุ์ Silver Arowana ในฟาร์มที่ 2 และฟาร์มที่ 3 ครับโปรดติดตามชมด้วย (ใกล้จบแล้วล่ะครับสำหรับตอน “ทัวร์อินโด 2010" นี้)