ต่อจากกระทู้นี้นะครับ
http://www.aro4u.com/articles-detail/562
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผมมักจะใช้คำว่า “ไซส์แรกซื้อ” เสมอสำหรับปลาตัวเล็กๆ ที่ร้านค้านำเข้าปลาอโรวาน่ามาจำหน่าย และ “ไซส์แรกซื้อ” นี้ก็ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 6 – 8 นิ้ว หรือต่อให้เล็กสุดๆ ที่นำเข้ามาในเมืองไทยได้ก็อยู่ที่ 4 นิ้ว (ซึ่งเป็นขนาดที่สามารถฝังแท่งไมโครชิพได้ – Microchip Tagged เว้นแต่ปลามังกรออสซี่ มังกรทองอ่อน มังกรเงิน หรือมังกรดำ ที่ไม่จำเป็นต้องฝังชิพ จึงอาจจะมาที่ขนาด 3 นิ้วได้)
=> แต่มีเพื่อนสมาชิกท่านใดเคยเห็นปลาในไซส์ที่ “มาก่อน” ไซส์แรกซื้อ มั้ยครับ ? คือหมายถึงเคยเห็นปลามังกรตัวน้อยๆ ตอนวัยทารกแรกเกิดรึเปล่า ? ผมคิดว่าคงมี แต่คงไม่มากนัก และวันนี้ ผมได้มีโอกาสเก็บภาพลูกปลาในช่วงระยะเวลาต่างๆ มาให้ทุกท่านได้ชมกัน ลูกปลา 1 วัน หน้าตาเป็นแบบไหน ? 2 วันเป็นยังไง ? 5 วัน => 7 วัน => เรื่อยไปจนถึงวัยที่ว่ายน้ำได้ หน้าตาเป็นยังไง ? ซึ่งหาดูได้ค่อนข้างยากมาก และผมเองไม่ได้เห็นแบบนี้บ่อยๆ ก็ถือเป็นของฝากสำหรับทุกท่านนะครับ
11. ภาพถ่ายภายในห้องอนุบาลปลาเล็ก (โดยรวม) ส่งให้ดูอีกครั้งนะครับ
12. ภาพของหนูน้อย Hiback Golden ที่มีอายุเพียงแค่ 2 วัน => ตาดำยังเป็นจุดๆ อยู่เลย
13. ภาพของหนูน้อย Super Red ที่มีอายุเพียง 2 วัน เช่นกัน
14. หนูน้อย Super Red อายุ 7 วัน => เริ่มเห็นลูกตา + ลำตัวชัดเจนแล้ว
15. Malaysian Golden Cross Back อายุ 10 วัน => คราวนี้เป็นลูกตา เป็นตัว เห็นหัว เห็นหาง เป็นปากชัดเจนแล้ว
16. Hiback Golden อายุ 12 วัน => หลายๆ ตัวขยับเขยื้อนตัวดุ๊กดิ๊กไปมาได้แล้ว
17. Hiback Golden อายุ 15 วัน => ครีบมาครบทุกสัดส่วน ยังเคลื่อนตัวดุ๊กดิ๊กอยู่ แต่ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ครับ
18. Malaysian Golden Cross Back อายุ 17 วัน => การพัฒนาการทุกอย่างเหมือนกับตอน 15 วัน เพียงแต่เห็นเส้นหนวด และครีบอก ชัดเจนมากขึ้น
19. Malaysian Golden Cross Back อายุ 20 วัน => อวัยวะทุกอย่างครบถ้วนหมดแล้ว เพียงแต่ถุงใข่ยังไม่ยุบ และ เจ้าหนูน้อยเหล่านี้ยังว่ายน้ำเองไม่ได้ (แต่ดูพยายามกันน่าดู สะบัดหัว สะบัดตัว สะบัดหาง ว่ายขึ้นลงกันใหญ่)
20. Hiback Golden อายุ 25 วัน => ตอนนี้ถูกแยกออกจากโถแล้วเพราะขนาดตัวใหญ่ขึ้น หากยังอยู่ร่วมกันจะแออัดและทับซ้อนกันทำให้เกิดความเสียหายต่อลูกปลาได้ ในช่วงเวลานี้ ถุงไข่เริ่มยุบตัว หนูน้อยหลายๆ ตัวยังนอนเล่นอยู่กับพื้น บางตัวฝึกว่ายน้ำแล้ว และตัวที่เก่งๆ ก็ว่ายน้ำหลาเลย (อย่างในภาพที่เห็นครับ)
21. และภาพที่เพื่อนสมาชิกเห็นอยู่นี้ก็เป็นหนูน้อยที่ไม่สมบูรณ์ มีความพิกลพิการ ผิดปกติเกิดขึ้น
– หนูน้อยตัวแรกเป็น Super Hiback ที่มีความผิดปกติที่โครงสร้างสันหลัง (สันหลังคดงอ)
– ภาพย่อยที่ 2 และ 3 เป็น Super Hiback เช่นกัน (ดูสีแล้วน่าเสียดายมาก เพราะดูเป็นปลาที่สวยมากในอนาคต) มีความปกติในส่วนของกราม (กรามค้าง ไม่สามารถหุบได้)
– ภาพย่อยสุดท้าย ผมจำสายพันธุ์ไม่ได้ แต่หนูน้อยตัวช่วงท้ายลำตัว (ตั้งแต่ก่อนข้อหาง) คดงอ และไม่สามารถว่ายน้ำได้ ต้องนอนอยู่แบบนี้ตลอดเวลา น่าสงสารมากครับ
22. ปิดท้ายส่วนของห้องอนุบาลปลาด้วยภาพนี้นะครับ จะเห็นได้ว่าภายในห้องจะมีชั้นวางอุปกรณ์เป็นอย่างดี แม้จะเป็นการวางกองๆ ไว้ แต่ผมก็ถือว่าจัดได้อย่างเป็นระเบียบ และหยิบขึ้นมาใช้ได้ง่าย (มีกล่องแยกใส่เป็นสัดเป็นส่วน) การจัดการระบบภายในฟาร์มที่ดีนั้น ช่วยให้มีชัยในธุรกิจได้ไม่น้อยครับ ก็ศึกษาไว้แล้วนำมาบอกเล่าให้กับเพื่อนสมาชิก Aro4u ด้วยเช่นกัน
สำหรับตอนหน้า เดี๋ยวเรามาชมปลาใน Stock กันว่ามีปลาอะไรบ้าง ? สำหรับวันนี้ ผมขอตัวก่อน ต้องไปทำงานแล้ว ไม่นานเกินรอครับ พรุ่งนี้เจอกัน