http://www.aro4u.com/articles-detail/568
ต่อจากตอนที่ 8 (ที่กล่าวที่เรื่อง “เทคนิคการเลี้ยงรวมปลามังกร” นะครับ)
52. ผมจำได้ว่าภาพสุดท้ายที่ถ่ายในฟาร์มแรกนั้น เป็นเวลาประมาณบ่าย 14.25 น. => เที่ยวบินกลับกรุงเทพมหานครคือ 17.15 น. ซึ่งเราต้องไปถึงสนามบินประมาณ 15.30 และจากตัวฟาร์มไปสนามบินใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1 ชั่วโมง หรืออย่างเร็วที่สุด 45 นาที นั่นหมายถึงว่าเราต้องออกจากตัวฟาร์มไม่เกิน 14.45 น. => ตอนนี้มีเวลาเหลือเพียงแค่ 20 นาที (หรืออาจน้อยกว่านั้น) ในการเที่ยวฟาร์มที่ 2 ตอนแรกก็สองจิตสองใจกับคุณต้น Lucky Arowana ว่าจะไปดีไหม ? เกรงว่าไปแล้วจะกลับสนามบินไม่ทัน ต้องอยู่อีกวันแน่ๆ แต่สุดไหนๆ ก็มาแล้ว ขอเวลาที่มีอยู่น้อยนิดนี้ใช้อย่างมีประโยชน์ที่สุดด้วยการ “ได้เห็นซักครั้ง” แล้วนำมาบอกเล่าให้เพื่อนสมาชิกได้ฟังจะดีกว่า
จากฟาร์มแรกไปฟาร์มที่สองใช้เวลาประมาณ 10 นาทีถึง ที่ฟาร์มนี้ ผมไม่ได้มีโอกาสลงไปเดินดูรอบๆ ฟาร์มเพราะตัวฟาร์มีขนาดใหญ่มากๆ หากนับจำนวนบ่อปลาที่มีขนาดต่อบ่อ ยาว 75 ฟุต กว้าง 25 ฟุต และสูง 4 ฟุต ซึ่งมีอยู่กว่า 200 บ่อแล้วล่ะก็ คงต้องใช้เวลาทั้งวัน ด้วยเหตุผลนี้จึงขึ้นแท่นไปที่ชั้น 2 แล้วส่องภาพโดยรวมมาฝาก (น่าเสียอยู่เหมือนกันว่าไม่ได้มีโอกาสเก็บภาพปลาในฟาร์ม) คุณ Larry บอกว่า ที่เห็นอยู่นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการขยายตัวเท่านั้น เพื่อนสมาชิกเห็น “เนื้อที่นอกรั้ว” ของฟาร์มด้านข้างมั้ยครับ ? นั่นล่ะ คุณ Larry กำลังเจรจาต่อรองซื้อขายกันอยู่ เพราะเขาว่าภายใน 2-3 ปี นับจากนี้ Bukit Merah Arowana Farm จะต้องมีบ่อปลาให้ถึง 500 บ่อให้ได้ จะได้ขึ้นมาเป็น 1 ใน 3 ของฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศมาเลเซีย (1 ใน 5 นี้ปัจจุบันมีฟาร์ม Xian Leng ด้วยนะครับ) ก็เป็นความพยายามที่ยิ่งใหญ่ แต่ผมเชื่อว่าด้วยศัยกภาพของฟาร์มนี้ เขาน่าจะทำได้จริงครับ
53. ก่อนเดินทางกลับ ผมเห็นคุณต้น Lucky มองดภาพฟาร์มโดยรวมด้วยความสุขใจ เหมือนหนึ่งกับว่าการได้มองบ่อปลา ฟาร์มปลาแบบนี้จะเป็นความฝันของเขา ความเห็นส่วนตัว คนหนุ่มคนนี้มีความตั้งใจ และมีไฟที่แรงกล้า ไม่แน่นะครับ วันหนึ่งในบ้านเราอาจจะมีฟาร์มปลาที่ชื่อ Lucky Arowana Breeding Farm, Thailand ก็เป็นได้ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ครับ
ได้เห็นภาพที่ดูยิ่งใหญ่ + น่าประทับใจ แบบนี้แล้วก็ถามตัวเองขึ้นมาเล่นๆ ว่า “NC. นายอยากเจ้าของฟาร์มปลามังกรไหม ?” ยังไม่ทันได้คิด ได้พิจารณาอะไรก็มีคำตอบออกมาทันทีว่า “ไม่ล่ะ ไม่ดีกว่า ความสุขของเราไม่ได้อยู่ที่การเป็นเจ้าของฟาร์ม แต่อยู่ที่การนั่งขีดเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับปลามังกร พร้อมเก็บภาพประกอบมาฝากเพื่อนๆ มากกว่า และความสุขนี้เราเองก็ได้พิสูจน์ให้เพื่อนผู้อ่านหลายๆ ท่านได้เห็นมาตลอด 7-8 ปีที่ผ่านมา… ตั้งแต่วันนั้น ถึงวันนี้ ก็ยังนั่งขีด นั่งเขียน นั่งทำเรื่องเดิมๆ อยู่ แน่นอนว่า ก็คงจะทำเรื่อยไปจนกว่าหมดแรงทำ นี่แหละความสุขของ NC. ”
54. ท้ายสุดนี้ NC. ต้องขอขอบคุณคุณต้น Lucky Arowana ที่ให้เกียรติในการเชิญชวนไปเที่ยวฟาร์มปลาเมืองนอกดูปลา เลือกซื้อปลาด้วยกัน ขอบคุณ Mr. Larry ที่สละเวลา Take Care ดูแลเราอย่างดีตลอดการเที่ยวชมฟาร์มทั้ง 2 วัน และขอบคุณเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ติดตามการเดินทางของผมครั้งนี้ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงตอนสุดท้าย หาก NC. มีโอกาสได้เดินทางไปชมปลาที่เมืองนอกอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหน ? ฟาร์มอะไร ? สัญญาว่าจะเก็บภาพประกอบ และข้อมูลที่ละเอียดที่สุดที่เป็นประโยชน์กับเพื่อนสมาชิก Aro4u คนสำคัญของผมทุกท่าน มาฝากอีกแน่นอน แล้วพบกันเมื่อถึงวันนั้นนะครับ