ก่อนอื่น ผมต้องขออภัยเพื่อนสมาชิกทุกท่านที่ทำกระทู้ช้า… พอดีว่า 2 วันนี้งานเยอะมากๆ ครับ เมื่อเช้าก็ประชุมทั้งวัน ส่วนวันนี้ก็งานตรึม (หัวหน้าไม่มา) เลยรับแทนเต็มสตรีม แต่แม้จะเหนื่อยผมก็มีความสุขในการทำงานไม่น้อยเลยทีเดียว แถมเมื่อเช้านี้พอเปิดกระทู้มาเห็นเพื่อนเปลี่ยนจากความเห็น “รอยยิ้ม” เป็นพายุคำถาม ผมยิ่งปลื้มมากขึ้นไปอีก เพราะชอบมากครับ ชอบตอบ ชอบพิมพ์ ชอบเขียน ชอบแบ่งปันความรู้ที่ผมมีให้เพื่อนๆ ดังนั้นเวลาได้เห็นอะไรแบบนี้ก็ต้องตอบตามตรงว่ามัน… ชื่นนนนนนนนนนนน จายยยยยยยยยยยย
เอาล่ะครับ มาถึงตอนต่อนกันดีกว่า สำหรับในส่วนนี้ ผมเองถ้าจะเขียนให้ยาวเกินไปเกรงว่าเพื่อนๆ จะจับประเด็นที่สำคัญไม่ได้ ดังนั้นเพื่อให้เป็นประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกมากที่สุด ผมจะเขียนเป็นหัวข้อที่ได้ความรู้มาจากพี่ต่อนะครับ (ส่วนภาคเต็มๆ ไว้ผมไปเรียบเรียงเพื่อลงหนังสือนิตยสารอีกครั้ง) เอาล่ะครับ พร้อมแล้วเรามาต่อกัน
ปลาของพี่ต่อเป็นปลาที่ได้มาจากไหน ?
จากข้อมูลที่ได้กล่าวก็ไป พี่ต่อได้ปลามาจากเพื่อนที่เลี้ยงปลาอยู่ที่มาเลเซีย แล้วก็นำมาเพาะพันธุ์กันโดยแรกเริ่มได้ปลามา 4 ตัว แล้วก็หาปลาเพิ่มจากในประเทศ (ซื้อมาบ้าง สั่งมาบ้าง จัด Order ให้หามาให้ก็มีบ้างเหมือนกัน) ลงร่วมทำการเพาะพันธุ์ หลังจากที่ศึกษาอย่างจริงจัง ท้ายที่สุดก็สามารถทำการเพาะพันธุ์ได้สำเร็จในบ่อปูนครับ บ่อปูนที่ว่านี้ก็คือบ่อปูนที่เตรียมไว้ขนาดประมาณ 3 x 3 เมตร เท่านั้นเอง โดยปลาที่สามารถเพาะพันธุ์ได้เป็นครั้งแรกก็คือสายพันธุ์ RTG หรือ ทองอินโด ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ถือเป็นรุ่นที่เรียกว่า F3 แล้วล่ะครับ
ขยายความกันดีกว่า F0 ก็คือ พ่อแม่ปลาที่เป็นปลาป่า => F1 ก็คือ ลูกของ F0 (เพาะได้รุ่นแรก แต่ยังขายไม่ได้) => F2 ก็คือ ลูกของ F1 (เพาะได้รุ่นที่ 2 รุ่นนี้ตามกฏหมายก็สามารถทำการจำหน่ายได้แล้ว) => F3 ก็คือ ลูกของ F2 ซึ่งเป็นรุ่นปัจจุบันที่ทางตรีพร อโรวาน่าฟาร์ม สามารถทำการเพาะพันธุ์ได้
ถามว่า เมื่อเพาะพันธุ์ปลาได้แล้ว มีการหาพ่อแม่ปลาใหม่ๆ เข้ามาบ้างไหม ? พี่ต่อเล่าว่าต้องมีการนำมาเพิ่มอยู่เสมอ เพราะป้องการผสมกันเองแล้วได้เลือดที่ชิด เป็นอีก 1 ความรู้ที่คู่ควรกับการจดจำ พี่ต่อบอกผมว่า ในการเพาะพันธุ์ปลาจากรุ่นพ่อแม่ (ที่มาจากต่างที่) มายังรุ่นลูก ยังสามารถทำการเพาะพันธุ์กันต่อได้จนถึงรุ่นหลาน แต่เมื่อถึงรุ่นหลานแล้วจะทำต่อ ต้องหาปลาจากแหล่งที่มาใหม่เข้ามาเพิ่ม ไม่เช่นนั้นจะเกิด “เลือดชิด” ตัวอย่างเช่น ปลาไม่สมบูรณ์ รูปร่างพิการ เกล็ดซ้อน แคระ คิง ค่อม และอื่นๆ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน ลองดูตามนี้นะครับ
รุ่นพ่อแม่ปลา F0 : เพาะพันธุ์กันออกมาได้ลูกที่เป็นรุ่น F1 => ลูกปลากลุ่มนี้จะยังมีสภาพที่สมบูรณ์
รุ่นพ่อแม่ปลา F1 : ที่มาจากพ่อแม่ปลาที่เป็นรุ่น F0 ข้างต้น หากผสมกันเอง (ไม่คัดแยกออกแต่เริ่ม) ก็ยังจะได้ลูกปลารุ่น F2 ที่มีสภาพสมบูรณ์อยู่ ไม่มีปัญหาเลือดชิด
รุ่นพ่อแม่ปลา F2 : ที่มาจากพ่อแม่ปลาที่เป็น F1 ก่อนหน้า จะผสมกันเองไม่ได้แล้ว เนื่องจากหากผสมออกมาลูกปลาส่วนใหญ่จะเป็นสายเลือดชิด ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่ไม่สมบูรณ์ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้น เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้น จำเป็นจะต้องคัดแยกแล้วพ่อแม่ปลาจากแหล่งที่มาอื่นๆ เข้ามาทำการผสมร่วมกันอีกครั้ง
ไม่แน่ใจว่าผมอธิบายไปแบบนี้แล้ว จะมีเพื่อนท่านไหนงงรึเปล่า ? หากงงหรือไม่เข้าใจสอบถามได้ครับ ความรู้ที่มีจะได้ถูกแบ่งปันกันไป
นโยบายของพี่ต่อในการทำฟาร์ม
เคยมีพายุคำถามจากเพื่อนสมาชิกว่า “พี่ต่อจะทำการจำหน่ายให้กับผู้เลี้ยงอย่างเราๆ หรือไม่ ?” คำตอบที่ได้จากพี่ต่อก็คือ ยังไม่คิดที่จำหน่ายเพื่อการพาณิชย์ครับ แต่มีโครงการจำหน่ายเพื่อการเสริมสร้างผู้เพาะพันธุ์ปลาในบ้านเราให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อเป็นความแข็งแรงของอีกหนึ่งธุรกิจในอนาคต พี่ต่อบอกว่า กว่าที่เขาจะทำสำเร็จมาแบบนี้ได้ เขาทั้งเสียเวลา แล้วเสียเงินทองไปมากมาย ดังนั้นเมื่อได้มาหากจะ “โกยคนเดียว” ด้วยการทำฟาร์มเพื่อเพาะ แล้วขายแต่เพียงผู้เดียว (Sole Monopoly – ฝังชิพแล้วขายไปนามของฟาร์มเช่น Treeporn RTG, Treeporn Cross Back, Treeporn Bloody Red, หรือ Treeporn Siam Green) ก็คงทำได้ แถมรวยคนเดียวอีกต่างหาก ไม่มีใครยุ่ง
… แต่เขากลับไม่ได้คิดแบบนี้ เขากลับคิดว่าการที่เขาทำได้ ก็ควรจะแบ่งความสำเร็จนี้ให้กับคนอื่นที่มีความฝัน ความตั้งใจในแบบเดียวกันด้วย (ก็ถือว่าแปลกคนครับ เพราะเมืองนอกส่วนใหญ่จะหวงวิชา มีพี่ต่อนี่ล่ะครับ จากที่ได้คุยแล้ว เขาเป็นคนที่ไม่ค่อยหวงวิชาจริงๆ) ดังนั้นในเวลานี้พี่ต่อจึงมีแต่โครงการ “ขยายฝันให้กับผู้ที่มีฝันร่วมกัน” เท่านั้น ส่วนการขายให้ผู้เลี้ยงคงต้องรอไปก่อน (ผมก็ต้องรอเหมือนกัน เพราะขอเป็นนักเขียน และนักคัดปลาสวยๆ แบบนี้ตลอดไป)
เอาล่ะครับ วันนี้พอแค่นี้ก่อน ไว้เขียนต่ออีกทีพรุ่งนี้ แล้วพบกันนะครับ