เอาล่ะครับ วันนี้เรามาต่อกันด้วยเรื่อง …
การคัดเลือกปลาสำหรับการผสมพันธุ์
หลังจากที่ได้ทราบแล้วว่าพี่ต่อได้นำปลาที่จะทำการผสมมาจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในความเป็นจริง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาใช่ว่าพี่ต่อจะหาปลาจากที่มาดั้งเดิมได้ตลอด ด้วยความยากลำบากในการนำมา ประกอบกับค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง รวมถึงระยะเวลารอที่ยาวนาน ด้วยความที่ยังมีความมุ่งมั่นอย่างจริงๆ จัง จึงมีบางช่วงเวลาที่พี่ต่อต้องสืบเสาะหาปลาจากบ้านเราเข้ามาเองด้วย โดยการรับซื้อปลามือ 2 จากผู้เลี้ยงเข้ามาร่วมทดลองเพาะพันธุ์ด้วย โดยส่วนใหญ่พี่ต่อจะรับซื้อปลาที่มีขนาดใหญ่พร้อมผสมพันธุ์แล้วทั้งสายพันธุ์ ทองอินโด และ ทองมาเลย์ แต่หลังจากทดลองอยู่นานหลายรุ่น พี่ต่อได้ให้ข้อมูลว่า จากประสบการณ์ในการเพาะพันธุ์ปลามังกรมานี้ ปลาป่าสามารถทำการเพาะพันธุ์ได้ดีกว่าปลาฟาร์ม พ่อแม่ปลาก็แข็งแรงกว่า อัตราความเสียหายในการเลี้ยงรวมก็มีน้อยกว่า ลูกปลาที่ได้ก็มีจำนวนมากกว่า และแข็งแรงกว่า ในขณะที่ปลาฟาร์มจะคาดหวังผลได้น้อยกว่า..
1. ปลาฟาร์มมีความแข็งแรงน้อยกว่า
2. ได้รับประสบการณ์ในอดีตที่เลวร้าย (ผ่านการฝังชิพ และวางยาสลบมา)
3. ปลาฟาร์ม หรือ ปลาเลี้ยง ถูกเลี้ยงมาตัวเดียวในตู้มาเป็นระยะเวลานาน (หรืออาจจะตลอดชีวิต) ดังนั้นในการเข้าร่วมฝูงเพื่อการเพาะพันธุ์จึงทำได้ยากกว่า และมีโอกาสเกิดความเสียหายขั้นใช้การไม่ได้ หรือถึงตายได้มากกว่า
ด้วยปัจจัยต่างๆ ข้างต้นนี้ทำให้มีความคาดหวัง และผลลัพธ์ในที่จะทำการเพาะพันธุ์ได้น้อยกว่าครับ อย่างไรก็ตาม พี่ต่อก็พยายามที่จะศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล และทดลอง เพื่อความคำตอบที่ดีที่สุดต่อไป
แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน แล้วก็คิดว่าเป็น Trick ใหม่ที่ได้จากที่นี่ก็คือ ผู้ซื้อปลามือสอง (เพื่อการเพาะพันธุ์) ท่านอื่นจะรับได้ทุกตำหนิ ยกเว้น “เหงือก” เพราะเป็นที่ทราบกันว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับการอมไข่ และการฟักเป็นตัวของลูกปลาในปาก แต่สำหรับพี่ต่อ เรื่องนี้ไม่ได้สนใจครับ ถึงจะมีปัญหาเรื่องเหงือกก็รับ เพราะเขาบอกว่าไม่เกี่ยว ตอนที่ผมได้ยินก็รู้สึกขัดใจอยู่เหมือนกันเพราะเคยได้ยินมาแบบนี้ จากทั้งผู้มีประสบการณ์ในเมืองไทย และเมืองนอก แต่พอพี่ต่อชี้ให้เห็นปลาอยู่จำนวนหนึ่งในบ่อปูน เขาบอกผมว่า “คุณแนนเห็นตัวนั้นไหม ? นั่นล่ะ ที่มีปัญหาเรื่องเหงือกนั่นล่ะ อมไข่เก่งชิบเป๋งเลยล่ะ ~~!!) … ทำเอาผมเงียบกริบ แล้วก็หันมามองมุมความคิดใหม่เลยทีเดียว
*** ภาพปลาตัวนี้เป็น RTG สายพันธุ์แท้ รุ่น F3 ที่พี่ต่อสามารถทำการเพาะพันธุ์ได้ จะเห็นได้ว่าแม้จทำได้เป็นรุ่นที่ 3 แล้ว ก็สามารถยังคงเอกลักษณ์ของสายพันธุ์แท้ => สีเข้ม ขอบทอง หลังดำ หุ่นบึกหนา ได้ดังเดิม นับเป็นความภูมิใจของผู้ที่ทำได้ และความปลื้มใจของผู้ที่ได้เห็นครับ