ต่อจากกระทู้นี้นะครับ
http://www.aro4u.com/articles-detail/561
3. จาก Stock เก็บปลาเตรียมส่งออก (และถือเป็น Showroom เล็กๆ เพื่อให้ลูกค้าจากที่อื่นได้เห็นคุณภาพปลาเบื้องต้น) แล้ว ต่อไปเรามาชมโซนอนุบาลปลาเล็กบ้างนะครับ สำหรับที่นี่ ต้องยอมรับว่ามีจำนวนปลา เข้า-ออกมาก จริงๆ เท่าที่ผมนับจำนวนปลาทั้งหมดในห้องนี้น่าจะมีอยู่หลายร้อยตัวครับ โดยสายพันธุ์เริ่มต้นอยู่ที่ Hiback Golden (HB) แล้วตามด้วย Super Hiback (SHB) แล้วก็ Super Red (SR) ก่อนปิดท้ายด้วย Malaysian Golden Cross Back (MG)
ขนาดปลาเล็กเหล่านี้เริ่มต้นตั้งแต่ “เป็นไข่ตัวติด” (มีตัวอ่อนติด ขนาดตัวอ่อนประมาณ 1 ซม.) จนถึง “เป็นตัวไข่ติด” (ว่ายน้ำได้แล้ว แต่ยังมีไข่ติดตัวอยู่ ขนาดตัวประมาณ 2.5 นิ้ว) ตู้แต่ละใบมีขนาดประมาณยาว 36 นิ้ว กว้าง 20 นิ้ว สูง 15 นิ้ว ทุกใบเติมน้ำประมาณครึ่งตู้ กล่าวคือให้สูงเท่าคอของโถแก้ว (ที่เป็นที่พักของฝูงลูกปลา) ภายในตู้จะเปิด Power Head เพื่อให้น้ำไหลเวียนตลอด และในโถก็จะมีออกซิเจนสำหรับลูกปลาในปริมาณที่ค่อนข้างมาก (หลายหัว และ แต่ละหัวให้ลมค่อนข้างแรง) เป็นผลให้เกิดแรงดันน้ำในโถแต่ละใบ => แรงขนาดที่ลูกปลาที่ติดไข่ไหลวนไปมาตามน้ำเลย (น่าสงสาร แต่เขาว่าวิธีนี้ล่ะที่จะทำให้ทุกตัวแข็งแรง และอยู่รอดจนครบทั้งจำนวน)
ปลาที่อนุบาลในห้องนี้จะมีอายุตั้งแต่ 1 วัน ไปจนถึงประมาณ 30-40 วัน (ตรวจสอบจากป้ายข้อมูลหน้าตู้แต่ละใบ) ซึ่งช่วงอายุใกล้ๆ นี้ ปลาจะว่ายน้ำได้แล้ว และไข่จะเริ่มยุบตัวจนเกือบหายไปทั้งหมด
*** ตู้แต่ละใบมี Heater ที่ตั้งอุณหภูมิที่เท่ากันที่ 30 องศา C
4. นอกจากเป็นโซนปลาเล็กแล้ว ยังเป็นโซนที่รักษาปลาป่วยขนาดเล็กด้วย (กล่าวคือตั้งแต่ “เป็นไข่ตัวติด” ถึง “เป็นตัวไข่ติด” และ “วัยแข็งแรง ว่ายน้ำได้”) ภาพที่เห็นมีทั้งความปลื้มอกปลื้มใจที่ได้เห็นหนูน้อยในสายพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้ค่อยๆ เจริญเติบโตตามช่วงอายุ และความเศร้าใจที่เห็นหนูน้อยหลายๆ ตัวต้องป่วย ต้องทรมานกับสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ความพิกลพิการ และต้องทนกับสภาพที่บาดเจ็บ (ผมจะนำมาให้ชมในภายหลังครับ)
*** เห็นอุปกรณ์ช่วยเหลือด้านบนมั้ยครับ ? มีเต็มไปหมดเลย การใช้พื้นที่ การจัดวาง การกั้นช่องแบ่งเลี้ยง การเลือกใช้ฝาตระแรง (เป็นอลูมิเนียมระบายร้อนทั้งหมด) การเรียงสายอ๊อกซิเจน การต่อท่อน้ำเข้า ระบายน้ำออก และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่า ทางฟาร์ม Bukit Merah Arownana นี้มีการจัดการที่ดี เป็นระบบ และมีความเป็นมืออาชีพสูง
5 – 6. มาดูรายละเอียดป้าย Tag กันบ้างนะครับ (เผื่อว่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับร้านค้า หรือฟาร์มปลาในบ้านเรา รวมถึงผู้เลี้ยงที่มีจำนวนปลาในครอบครองเป็นจำนวนมาก) ป้าย Tag หน้าตู้นี้บอกอะไรบ้าง ?
– Area : โซนของฟาร์ม => โซน
– Farm : ฟาร์ม (ที่ Bukit Merah Arowana นี้มีฟาร์มหลักอยู่ 2 ฟาร์มครับ)
– Pond : บ่อเพาะพันธุ์ที่
– Type : สายพันธุ์ของลูกปลาที่เพาะได้
– Quantity : จำนวนลูกปลาทั้งหมดในคอกนี้
– Date of Birth : วันที่ได้ลูกปลา (หรือวันที่ง้างปาก – Harvesting)
– Microchip Number : เลขที่เริ่มของ Microchip ชุดนี้
– Date : วันที่ (รายละเอียดปลีกย่อย)
– In : จำนวนปลาเข้า
– Out : จำนวนปลาออก
– Balance : เหลือจำนวนปลาในตู้
– Remark : หมายเหตุ
จากรายละเอียดข้างต้น เมื่อเปรียบเทียบกับป้าย Tag หน้าตู้แล้วจะได้ข้อมูลดังนี้ =>
ลูกปลาชุดนี้มาจากโซน BR7 ฟาร์มที่ 1 บ่อที่ K19 เป็นลูกปลาสายพันธุ์ทองมาเลยเซีย (MG – Malaysian Golden Xback) จำนวน 53 ตัว ลูกปลาชุดนี้เกิดวันที่ 16-8-2009 ชุด Microchip ตั้งแต่เลขที่ 1828004274
– ในวันที่ 16-8-2009 (วันเดียวกับที่เกิด) จากปลา 53 ตัว จากไป 1 เหลือ 52 ตัว จากสาเหตุไข่แตก (Egg Break)
– วันที่ 27-8-2009 เสียไปอีก 1 ตัว จากสาเหตุเสียชีวิต (Die)
– วันที่ 14-9-2009 (วันที่เราไปเยือนฟาร์มพอดี) เสียไปอีก 1 ตัว ยังไม่ทราบสาเหตุ
7 – 8. จากรายละเอียดในป้าย Tag หน้าตู้ จะได้ข้อมูลดังนี้ครับ =>
ลูกปลาชุดนี้มาจากโซน B47 ฟาร์มที่ 2 บ่อที่ K39 เป็นลูกปลาสายพันธุ์ทองมาเลยเซีย (MG – Malaysian Golden Xback) จำนวน 32 ตัว ลูกปลาชุดนี้เกิดวันที่ 12-8-2009 ชุด Microchip ตั้งแต่เลขที่ 484F44142F
– ในวันที่ 10-9-2009 จากปลา 32 ตัว จากไป 1 เหลือ 31 ตัว ไม่ทราบสาเหตุ
– ในวันที่ 11-9-2009 จากไปอีก 1 เหลือ 30 ตัว ไม่ทราบสาเหตุ
– ในวันเดียวกัน ตัว จากไปอีก 1 เหลือ 29 ตัว จากปลาแฝด (Twins)
– ในวันที่ 13-9-2009 จากไปอีก 2 เหลือ 27 ตัว ไม่ทราบสาเหตุ
9. กลุ่มลูกปลาที่อยู่ตรงนี้ ไม่ใช่ลูกปลาที่ป่วย หรือพิกลพิการอะไรนะครับ แต่เป็นลูกปลาที่เริ่มเข้าสู่วัยการขยับเขยื้อนเคลื่อนตัวได้แล้ว (เริ่มออกแรงว่ายน้ำได้) สังเกตจากถุงไข่ที่มีขนาดเล็กลง แต่ที่ต้องแยกออกมาจากโถเพราะขนาดตัวของลูกปลามีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนั้นหากเลี้ยงในโถรวมกันหลายสิบตัวอาจเป็นผลให้อึดอัดและเกิดความเสียหายต่อตัวปลาได้ครับ ด้วยเหตุผลนี้จึงต้องแยกออกจากโถแก้วแล้วก็นอนแอ้งแม้งแบบนี้นั่นเอง (ตัวไหนแข็งแรงก่อน ก็สามารถว่ายน้ำได้ก่อนครับ)
10. และภาพที่เห็นนี้ก็คือกลุ่มลูกปลาขนาด 2.5 นิ้ว (เมืองไทยเรียกว่า “ไซส์หัวจิ้งจก”) ที่ว่ายน้ำได้แข็งแรงขึ้น ไม่ต้องนอนรอเวลา (ให้แข็งแรง) เหมือนกับในภาพก่อนหน้า หลายตัวไข่ยุบหมดแล้ว แต่ก็ยังมีบางตัวที่ยังมีถุงไข่ติดอยู่ (ขนาดเล็กน้อยเต็มที) อีกพักหนึ่ง หนูน้อยกลุ่มนี้ก็จะถูกย้ายออกมายัง Stock ด้านนอกเพราะเป็นวัยที่สามารถหาอาหารกินเองได้แล้วล่ะครับ (ในห้องจะเรียกว่า “วัยทารก – ยังว่ายน้ำไม่ได้” => นอกห้องจะเรียก “วัยเล็ก – ว่ายน้ำได้แล้ว”)
เอาล่ะครับ วันนี้พอเท่านี้ก่อน แล้วมาติดตามชมตอนต่อไปนะครับ
*** วันนี้เบิกตาตื่นเขียนหนังสือแต่เช้าเพราะต้องไปส่งภรรยาที่สุวรรณภูมิ (หนีผมไปเที่ยวรัสเซียตั้ง 7 วันแน่ะ – “ข้างนอก” => ฮือ ๆ ๆ ๆ คิดถึงจัง … / “ข้างใน”=> เย้ เย้ เย้ ~~ 7 วันนี้ โสดละโว๊ยยยยส์~~!!