ต่อจากตอนที่ 5 นะครับ
http://www.aro4u.com/articles-detail/593
31. คราวนี้มายลโฉมทองมาเลย์ในระดับเกรดพิเศษกันบ้าง (High Quality Malaysian Golden Cross Back) สำหรับความแตกต่างระหว่างเกรดเริ่มต้น และเกรดพิเศษ พิจารณาจาก “การเปิดของเกล็ดละเอียด” เป็นสำคัญ หากเป็นเกรดเริ่มต้น การเปิดของเกล็ดละเอียดจะมีน้อยกว่า (คาดหวังได้) แต่หากเป็นเกรดพิเศษ การเปิดของเกล็ดละเอียดจะมีเนื้อที่มากกว่า => สำหรับเกล็ดแถวที่ 5 ไม่ต้องห่วงนะครับ จะต้องมีทุกตัว (และมีตั้งแต่เกรดเริ่มต้นแล้ว)
สำหรับภาพปลาที่แนบมาตัวนี้ก็ถือได้ว่าเป็นทองมาเลย์ที่สวยมากตัวหนึ่ง มีการเปิดของเกล็ดแถวที่ 5 ชัดเจน + เกล็ดละเอียดเปิดเกือบหมด + ตีวงข้ามหลังเล็กน้อย ฐานสีเห็นได้ชัดเจนว่าเข้ม แม้จะอยู่ในตู้ใสก็ตาม (ตัวนี้เป็นอีกตัวที่ NC. ชอบ เพราะมี “ริ้วทอง” ขึ้นตามก้านครีบแล้ว)
32. มาดูอีกตัวนะครับ สำหรับตัวนี้เมื่อเปรียบเทียบกับตัวก่อนหน้าแล้ว เรียกได้ว่าเหมือนกันอย่างกับฝาแฝด หากถามความเห็นส่วนตัวของ NC. ว่าลักษณะหน้าตาแบบนี้พอจะเรียกเป็น “เกรดพิเศษ” หรือ High Quality ได้ไหม ? เรียนตามตรงว่า หน้าตาผ่านแล้ว มีคุณสมบัติชัดเจน + เห็นได้จากตัวปลาที่อยู่ตรงหน้า ที่เหลือก็พิจารณาจากราคาครับ (พี่สุบินยังไม่เปิดเผยเรื่องราคาให้ NC. ทราบ บอกแต่เพียงว่า แต่ละเกรดจะมีส่วนต่างอยู่ที่ตัวละ 10,000 บาท โดยประมาณ เช่น เกรดเริ่มต้น 3x,xxx เกรดพิเศษ 4x,xxx และ เกรดสูงสุด 5x,xxx ประมาณนี้ครับ)
Note : เพื่อนสมาชิกยังจำเรื่องของ F หรือ “รุ่นของปลา” ได้รึเปล่าครับ ? ถ้าจำไม่ได้ NC. ขอรื้อฟื้นให้ฟังซักนิดโดยเริ่มจาก
– F0 คือ ปลาจับ (Wild Caught) หรือปลารุ่นแรกในฟาร์มที่ยังไม่มีเอกสารการครอบครองอย่างถูกต้องของประเทศนั้นๆ
– F1 คือ รุ่นลูกของ F0 หมายถึง ลูกปลารุ่นแรกที่ได้จากการเพาะพันธุ์ในฟาร์ม
– F2 คือ รุ่นลูกของ F2 หมายถึง ลูกปลารุ่นที่ 2 ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ในฟาร์ม และลูกรุ่นนี้กฎหมาย Cites อนุญาตให้ทำการจำหน่ายได้แล้ว (เริ่มต้นที่รุ่นนี้ครับ)
– F3, F4, F5 และ F ต่อๆ ไป ก็คือ รุ่นลูกของปลาแต่ละรุ่น (เรียงตามลำดับ => F5 เป็นรุ่นลูกของ F4, F4 เป็นรุ่นลูกของ F3 และ F3 เป็นรุ่นลูกของ F2) โดยจุดมุ่งหมายก็เพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ให้มีความสวยงามมากขึ้น และแน่นอนครับ ตั้งแต่รุ่นที่ 2 เป็นต้นไปทางฟาร์มสามารถจำหน่ายได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย
และเท่าที่ NC. เคยได้รับทราบข้อมูลจากร้านค้า และฟาร์มปลาต่างๆ ในการทำฟาร์มปลาอโรวาน่าแต่ฟาร์ม สำหรับฟาร์มปลาที่เปิดใหม่ พ่อแม่พันธุ์ที่ได้มาไม่ว่าจะมาจากที่ไหนล้วนแล้วตั้งต้นเป็น F0 ทั้งหมด (ทั้งที่จริงๆ อาจเป็น F2, F3, F4 และอื่นๆ จากฟาร์มที่ทำการเพาะพันธุ์) และต้องทำการเพาะพันธุ์ต่อให้ได้จนถึงรุ่นของ F2 ฟาร์มนั้นจึงจะเริ่มจำหน่ายได้ ทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่ NC. ได้รับทราบ และเข้าใจมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม วันนี้ NC. ได้รับข้อมูลใหม่จากพี่สุบินซึ่งถือเป็น “ข่าวดี” อย่างมากสำหรับผู้ที่เริ่มสนใจการเพาะพันธุ์ และทำฟาร์มปลาอโรวาน่านั่นก็คือ หากทางฟาร์มสามารถหาพ่อแม่พันธุ์ปลาที่นำเข้ามาในประเทศโดยถูกต้องตามกฏหมาย (มีหมายเลข Microchip มีชื่อฟาร์มต้นสังกัด มีเอกสารนำเข้ามาในประเทศโดยถูกต้อง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้) ทางฟาร์มสามารถสานต่อรุ่นของพ่อแม่ปลานั้นๆ ได้ทันทีครับ โดยหากสามารถทำการเพาะพันธุ์ได้ ลูกปลาที่ได้รุ่นแรกให้ถือเป็นรุ่นต่อจากรุ่นของพ่อแม่ โดยหากพ่อแม่รุ่นไม่เท่ากัน ให้ยึดตามรุ่นที่น้อยกว่า ตัวอย่างเช่น
– พ่อแม่ปลาในบ่อเป็นรุ่น F2 ทั้งหมด (ทุกตัวมีที่มาที่ไปตามที่ได้ระไว้ข้างต้น) ลูกปลาที่ได้ในบ่อนี้สามารถระบุเป็นรุ่น F3 ได้ทันทีครับ
– พ่อแม่ปลาในบ่อเป็นรุ่น F4 ทั้งหมด (ทุกตัวมีที่มาที่ไปตามที่ได้ระไว้ข้างต้น) ลูกปลาที่ได้ในบ่อนี้สามารถระบุเป็นรุ่น F5 ได้ทันทีเช่นกันครับ
– แต่หากพ่อแม่ปลาในบ่อมีทั้งรุ่น F2, F3 และ F4 (แม้ทุกตัวจะมีที่มาที่ไปตามที่ได้ระไว้ข้างต้นก็ตาม) ลูกปลาที่ได้ในบ่อนี้จะสามารถระบุได้เพียงแค่รุ่น F3 เท่านั้นครับ (ต่อจากรุ่นที่ต่ำสุด)
*** ปลาที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจะเริ่มต้นกันด้วยรุ่น F2 ครับ
33. สำหรับปลาเกรดพิเศษเหล่านี้ส่วนตัวก็ยังมองว่ามีอนาคตที่ยาวไกล เพราะขนาดแค่เพียง 8 นิ้ว ก็สามารถเห็นคุณสมบัติของตัวปลาได้อย่างชัดเจนแล้ว ทั้งรูปร่างหน้าตา ความสมบูรณ์ของโครงสร้าง และสีสัน รวมถึงการเปิดของเกล็ด แม้วันนี้ NC. ยังไม่ได้มีโอกาสเห็นว่าปลายทางของทองมาเลย์เกรดพิเศษเหล่านี้จะไปได้ไกลแค่ไหน ? แต่ลึกๆ แล้ว ด้วยปัจจัยหลักๆ อย่างคุณสมบัติการเป็นลูกปลาจากพ่อแม่พันธุ์ชั้นดี + การเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด โดยเน้นวิถีธรรมชาติ ไม่มีการปรับเติมเสริมแต่ง หรือใช้เทคนิควิธีใดๆ NC. เชื่อว่า ณ วันหนึ่งในอนาคตข้างหน้า เจ้าหนูน้อยเหล่านี้น่าจะเป็นปลาที่สวยมาก และถือเป็นความภูมิใจของคนไทยอย่างยิ่งเลยทีเดียว (NC. จะคอยตามดู และตาม Update ให้ชมเรื่อยๆ นะครับ)
Note : พี่สุบินบอก NC. ว่า สำหรับปลาอโรวาน่าของทาง Bangkok Arowana Breeding Farm หากจะมีวันหนึ่งที่ทำเพื่อการค้า (จำหน่ายสู่ตลาดผู้เลี้ยง) ขนาดปลาที่ไปจากฟาร์มจะต้องเป็นขนาดที่เห็นแววปลาได้ชัดเจนแล้ว นั่นก็คือตัวปลามีขนาดไม่น้อยกว่า 7 นิ้ว => รับรองว่าจะไม่มีปลาขนาด 3 นิ้ว 4 นิ้ว หรือไซส์จิ๋ว ที่ยังไม่เห็นอะไรออกไปจากฟาร์มนี้อย่างแน่นอน) พี่สุบินพูดท้ายกับ NC. อย่างหนักแน่น… นับเป็นแนวคิดที่ให้ประโยชน์กับผู้เลี้ยงมากครับ และหากทำได้จริง + รักษาบรรทัดฐานของคุณภาพปลา และ Concept นี้ไว้ได้ รับรองว่าฟาร์มแห่งนี้จะเจริญรุ่งเรืองและได้รับการยอมรับจากใจผู้เลี้ยงต่อเนื่องยาวนานแน่นอนครับ
เอาล่ะครับ วันนี้ NC. ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้ แล้วเรามาปิดท้ายการเดินทางมาเยือนฟาร์ม Bangkok Arowana Breeding Farm ด้วยภาพของทองมาเลย์ “เกรดสูงสุด” (Premium Grade Malaysian Golden Xback) กันในตอนหน้า ไม่นานเกินรอ วันจันทร์เจอกันครับ