วันนี้จัมมัยจังมาแต่เช้าเลย แล้วก็มาด้วยคำถามที่ร้อนแรง NC. ยังทำงานไม่เสร็จก็ต้องรับสายพูดคุย…
“พี่แนนครับ พี่แนนครับ ช่วยด้วยครับ ช่วยผมที ปลาผมครีบหักครับ !!”
“หักแบบไหนครับ ?”
“หักแบบแตกแยกออกจากกันเลยครับ น่าซีเรียสมาก ตอนนี้ผมเครียดเลย”
“แตกแยกออกจากกัน ?? … แล้วหลุดขาด หรือห้อยรุ่งริ่งไหม ?”
“ยังไม่หลุดครับ”
“พี่แนนขอดูรูปได้ไหม ?”
“ได้ครับ”… แล้วน้องเขาก็ไปถ่ายรูปมาให้ NC. ดู
เมื่อ NC. ได้ดูแล้ว (ลักษณะตามภาพประกอบที่แนบมา) ก็บอกเขาว่า
“น้อยชาย ฟังดีๆ อย่าเพิ่งตื่นเต้น ปลาของน้องไม่ใช่ครีบหักครับ แล้วก็ไม่ใช่ครีบขาดด้วย”
“อ้าวเหรอครับ ผมเห็นตัวมันเป็นรอยๆ ด้วย เครียดเลย”
“ลักษณะแบบนี้เรียกว่า “ครีบแตก" จำไว้ให้ดีๆ นะครับ เรียกว่า “ครีบแตก” อย่าเพิ่งสับสน”
“แล้วครีบแตก กับครีบหัก ต่างกันยังไงครับ ?”
“ครีบแตก => เป็นการแตกของก้านครีบแต่ละเส้นที่แยกออกจากกัน ในครีบแต่ละส่วน (ใบหาง, ครีบอก, ครีบท้อง, ครีบหลัง, และครีบก้น) โดยไม่เสียโครงสร้างของก้านครีบ แค่แตกออกจากกันเท่านรั้น และสามารถติดเองได้ คือกลับมาติดกันเองได้เหมือนเดิม (ใช้เวลา 1-2 วัน) / ครีบแตกเกิดจากการฟัดทะเลาะกับ Tank Mate เป็นหลัก หรือ กัดกันเอง หรืออุบัติเหตุเล็กน้อย
ส่วน “ครีบหัก” => เกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรงกว่ามากเช่น กระโดดกระโจนรุนแรงภายในตู้ หรือภายในถุง (ขณะเคลื่อนย้าย) ตกช่องกรอง หล่นกระแทกพื้น ฟัดกับปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือ เพื่อนร่วมตู้ที่ใหญ่กว่ามาก ทำให้เกิดการหัก เดาะ ฉีกขาด หลุดคา (ห้อยรุ่งริ่ง) หลุดไป หรือปรากฏรอยช้ำเป็นจ้ำเลือด ที่ครีบส่วนๆ ต่างตามตัวอย่างด้านบน
สำหรับ “ครีบหัก” โอกาสติดเองก็มีอยู่ แต่น้อยมาก อีกทั้งติดแล้วมีโอกาสงดงอ บิดเบี้ยว ผิดรูป จึงมีหลายๆ เคสที่ต้องการรับการศัลยกรรมตัดแต่งช่วยเหลือ และกว่าจะสมบูรณ์ใกล้เคียงของเดิมต้องตั้งหน้ารอนานกันเป็นเดือนๆ ต่างจาก “ครีบแตก” ที่ไม่ต้องทำอะไรเลย แค่วันสองวันก็ติดกันเหมือนเดิม… อธิบายแบบนี้เข้าใจชัดเจนไหม ?”
“แจ่มแจ้งชัดเจนครับพี่แนน ขอบคุณมากครับ”
“ด้วยความยินดีครับ”
ก็ฝากกระทู้นี้ไว้ให้เพื่อนสมาชิก Aro4u อีกกระทู้นะครับ