ต่อจากกระทู้นี้นะครับ
http://www.aro4u.com/articles-detail/667
ตามที่ได้รับปากเพื่อนสมาชิกว่าหลังจากทำการ Harvesting เสร็จแล้ว NC. จะพาไปชมภายใน Warehouse อันเป็นสถานที่เก็บปลา ตอนนี้ได้เวลาที่เหมาะสมแล้วตามไปชมพร้อมๆ กันดีกว่าครับ
88. ข้างใน Warehouse มีตู้ปลามากมายและก็มีการแบ่งโซนกันชัดเจน ในภาพเป็นชุดตู้ปลาโซน A – สำหรับเก็บปลาเล็ก และ โซน B – สำหรับเก็บปลาใหญ่ (ตู้โซน A ด้านใน NC. เห็นเจ้าหน้าที่กำลังทำการเคลื่อนย้ายลูกปลาที่เพิ่งได้มาลงตู้)
89. ส่วนภาพนี้เป็นชุดตู้โซน C – สำหรับรักษาปลาป่วย ที่ด้านหน้าของชุดตู้โซน C จะมีชั้นวางสำหรับเก็บของ และเก็บอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงยารักษาโรคครับ
90. สำหรับตู้ใหญ่ (ชุดตู้โซน B ) NC. สังเกตเห็นว่าตู้ทุกใบจะใช้ระบบ “กรองบน” โดยออกเป็นแบบตู้กระจกวางอยู่ด้านบนของตู้ปลา => Idea ค่อนข้างดีและน่านำเอามาปรับปรุงใช้ที่บ้านเรานะครับ จากภาพเพื่อนสมาชิกจะเห็นว่าตู้กรองบนนั้นจะมีช่องกรองอยู่ประมาณ 5 ช่อง แบ่งออกเป็นช่องพักน้ำ 1 ช่อง + ช่องกรอง 3 ช่อง และช่องน้ำดี 1 ช่อง หวีกั้นน้ำแต่ละช่องจะเรียงลำดับความสูงลดหลั่นกันมาทำให้ให้เพิ่มแรงน้ำไหลได้มากขึ้น (ของบ้านเราจะเท่ากันเกือบทุกช่อง) แน่นอนครับประสิทธิภาพในการกรอง + บำบัดของเสียภายในตู้ปลาก็มีมากขึ้น
*** ฝาตู้ปลาเป็นกระแกรงไม้ครับ (น้ำหนักดี สามารถรับแรงกระแทกจากการกระโดดของปลาได้)
91. ภาพตัวอย่างปลาแดงใหญ่ ShelookRED ภายในตู้ปลา (ตู้ใบเดียวเลี้ยงปลาหลายตัวเลย บางตู้ 6 ตัว บางตู้มีเป็น 10 เหมือนกัน แต่แปลกครับ ความเสียหายของตัวปลามีน้อยมาก) สีสันดีสวยงามไม่น้อยนะครับ => ภาพชุดที่ถ่ายใน Warehouse ทั้งหมดนี้ถ่ายโดยการใช้ Flash ครับไม่สามาถ่ายแบบ Manual ตามความถนัดได้เพราะมีแสงแดดเข้ามามาก เล็งกล้องไปที่หน้าตู้ก็จะเห็นแต่ตัวเอง (ที่แม้จะดูดี น่ารัก น่าฟัด แต่เพื่อนสมาชิกคงไม่อยากเห็นเป็นแน่ !!)
*** ผ้าใบสีดำที่เห็นนั้นใช้สำหรับคลุมหน้าตู้เพื่อป้องการการว่ายเอียงจากแสงแดดภายนอก (และยังป้องกันตาตกด้วย)
92. แน่นอนครับ Warehouse ก็คือ Warehouse (Stock ขนาดยักษ์) ทุกที่ๆ ไปก็มักจะมีภาพของปลาป่วยในอาการต่างๆ ให้เห็น และเมื่อได้เห็นแล้วก็ขออนุญาตเจ้าหน้าที่ถ่ายภาพเก็บไว้เพื่อเป็น Case Study ให้เพื่อนสมาชิกได้ศึกษา อย่างปลาแดงใหญ่ในภาพนี้ก็คือ ปลามังกรแดง 4 หนวดที่ครั้งหนึ่งเคยมีอาการ “หนวดอักเสบ” เป็นซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็เกิดแผลบวมเปล่งและเป็นแผลเป็นที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ (เว้นแต่การทำการศัลยกรรม แต่ปลาใหญ่การทำการศัลยกรรมถือว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างมาก ประกอบกับปลาตัวนี้ทางฟาร์มวางแผนไว้เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ จึงปล่อยไว้ไม่จำเป็นต้องแก้ไขให้เกิดความเสี่ยง)
93. มังกรเขียวขนาดยักษ์กว่า 25 นิ้วตัวนี้ก็มีอาการ “ตาขุ่น” ขั้นรุนแรง ข้างหนึ่งตาขุ่นขนาดบอด (เป็นฝ้าแข็งแล้วไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้) ส่วนอีกข้างก็เริ่มๆ เป็น ดูแล้วน่าสงสารมากครับ สาเหตุที่แน่ชัด NC. เองก็ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ข้อมูลที่ได้มาก็มีเพียง “ปลาพวกนี้เป็นปลาในบ่อเพาะพันธุ์ที่พบว่าป่วย จึงได้ย้ายขึ้นมาทำการพักรักษาใน Warehouse เมื่อหายดีแล้วจึงค่อยย้ายลงไปสู่บ่อเพาะพันธุ์อีกครั้ง” เท่านั้นครับ
94. ตัวนี้ก็ป่วย ไม่แน่ใจว่าเป็นอะไรแต่สีหายหมดตัวเลย
95. โซนนี้เป็นโซนอนุบาลปลาเล็ก (โซน A) ภายในตู้ปลาแต่ละใบก็มีลูกปลาอโรวาน่าอยู่มากมาย แต่ละตัวยังเป็นปลาวัยเยาว์กลาวคือยังมี “ถุงไข่แดง” ติดอยู่ และหนูน้อยที่เห็นกลุ่มนี้ก็คือสายพันธุ์ Super Red ครับ
96. ส่วนตู้นี้ลูกปลามีอายุมากขึ้นหน่อย หลายตัวสามารถว่ายน้ำเองได้แล้ว (ถุงไข่แดงเริ่มจะยุบตัว) ส่วนรูปล่างสุดของภาพชุดนี้ก็คือเจ้าตัวน้อยที่ไข่แดงยุบหายโดยสมบูรณ์แล้ว (ขนาดประมาณ 3.5 นิ้วครับ => เตรียมตัวย้ายไปที่ Stock ศูนย์สำนักงานใหญ่เพื่อรอการจำหน่าย)
97. ที่ป่วยหนักสาหัสก็มีครับ เห็นแล้วทั้งรู้สึกสงสารและหดหู่ใจมากๆ อย่างเจ้าหนูน้อยคู่นี้ก็เป็น “โรคบวมน้ำ” ตั้งแต่ยังแบเบาะ โรคนี้อันตรายอย่างมากโอกาสรอดมีน้อยจนแทบไม่เหลือ ทำได้ก็เพียงอย่างคือกำชับเจ้าหน้าที่ให้ดูแลรักษาเป็นพิเศษ ที่เหลือคือส่งกำลังใจให้อย่างเดียว
98. ปิดท้ายการชม Warehouse ด้วยภาพลูกปลาแดงชุดใหม่ที่ได้จากการทำการ Harvesting นะครับ ชุดนี้เป็นลูกปลาจากบ่อแรก
99. ส่วนภาพนี้เป็นลูกปลาที่ได้จากบ่อที่ 2
ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดการเดินทางมาเยือนฟาร์ม Penepat ซึ่งเป็นฟาร์มที่ 4 สำหรับการเดินทางครั้งนี้ ในตอนต่อไปจะเป็นฟาร์มที่ 5 ซึ่งถือเป็นฟาร์มสุดท้ายในสังกัด 5 ฟาร์มใหญ่แห่ง ShelookRED จะใหญ่โต จะอลังการ จะมีปลาแดงสวยซักแค่ไหนโปรดติดตามชม ไม่นานเกินรอ ต้นสัปดาห์หน้าเจอกันครับ