ต่อจากกระทู้นี้นะครับ
http://www.aro4u.com/articles-detail/273
ตลอด 5 ตอนที่ผ่านมา NC. นำภาพปลาสวยๆ ผ่าน “ตู้ปลา” มาให้เพื่อนสมาชิกได้รับชมกัน และตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไปทุกๆ ท่านจะได้เห็น “ปลาขุน” ที่พี่แอร์เลี้ยงไว้ในเวอร์ชั่น “อ่าง (ติดกระจก)” บ้างนะครับ ที่ต้องบอกไว้ก่อนเพราะจะเห็นถี่มากๆ => ถี่ขนาดที่แค่เห็นผ่านๆ ยังนึกว่าฟาร์มปลาอโรวาน่าย่อมๆ เลย !!
36. อ่างเลี้ยงปลาที่เพื่อนสมาชิกเห็นอยู่นี้เป็นอ่างขนาดยาว 96 นิ้ว กว้าง 48 นิ้ว และสูง 42 นิ้ว ซึ่งคุณแอร์สั่งซื้อจากคุณเติ้ง ShOwA Arowana (นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซีย) ถังนี้เป็นที่อยู่ของปลาจำนวน 16 ตัว สายพันธุ์ปลาถือว่าเป็นระดับสูงทั้งคู่ แต่ราคาเมื่อเทียบแล้วต่างกันคนละขั้วกันเลยทีเดียว
Set 1 ปลาแดง Munjul Ultra Red F5 จากฟาร์ม PT. Munjul Prima Utama ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 8 ตัว
Set 2 ทองมาเลย์เกรดเริ่มต้น จากฟาร์ม Everise Aquaculture, Malaysia จำนวน 8 ตัว
=> ขนาดเลี้ยงปลาในอ่างขุนก็ยังมีเลี้ยง Tank Mate ร่วมด้วย NC. แอบส่องมาเห็นเป็นปลาหมูอินโด 1 ฝูง (สำหรับเก็บเศษพื้นตู้) เรื่องอาหารไม่ต้องห่วงครับ ให้กินเต็มที่วันละ 3 มื้อครับ (8 โมงเช้า + เที่ยงตรง และ 5 โมงเย็น)
37. ขนาดปลา ณ ตอนที่ NC. ถ่ายภาพเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 12-14 นิ้วครับ (เลี้ยงมาพร้อมกันตั้งแต่แรก) อ่างขุนใบนี้สูง 42 นิ้ว พี่แอร์เติมน้ำเลี้ยงที่ 24 นิ้ว รวมปริมาตรน้ำในอ่างและถังกรองอยู่ที่ 1.5 ตัน ถือว่าไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ปลาอยู่สุขสบายดีเพราะมีระบบ Over Flow เปลี่ยนถ่ายน้ำ 10% ทุกวันครับ
38. หลอดไฟที่ใช้กับอ่างขุนใบนี้พี่แอร์ใช้หลอด Day Light (ยี่ห้อ Philip ขั้วเขียว 1 หลอด) เปิดตลอดเวลา และมี Heater เพื่อควบคุมอุณหภูมิอีก 1 วัน แน่นอนครับใช้ยี่ห้อ Eheim Jager 300 วัตต์ (ถือว่ายังเกินกำลังไปนิด แต่ก็พอเอาอยู่ครับ) => Power Head สำหรับอ่างขุนไซส์นี้ พี่แอร์ใช้เป็น Patter เดียวกันหมดคือ Atmat 6500 กำลังน้ำ 6,500 ลิตร/ ชั่วโมง มีใช้หลอด UV ด้วย ใช้ยี่ห้อ Atman ขนาด 18 วัตต์ แต่เปิดเป็นครั้งคราวครับ
39. ระบบกรองของอ่างขุนใบนี้ เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น NC. ขอแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ครับ
ส่วนที่ 1 ถังเหลี่ยมกรองบน (เป็นชุดเดียวกับตัวปลาอ่าง) วัสดุกรองใช้เฉพาะใยหยาบญี่ปุ่น
ส่วนที่ 2 ถังเสริมแบบกลม ขนาด 200 ลิตร ใช้ระบบ Vortex จำลอง ใช้วัสดุกรองเป็นหินพัมมิส และหิน Kiriga
ส่วนที่ 3 ถังเสริมแบบกลม ขนาด 200 ลิตร ใช้ระบบ Fixed Bead ใช้วัสดุกรองเป็นหินพัมมิส และหิน Kiriga
*** ทุกช่องมีออกซิเจนเพื่อช่วยย่อยสลายและไล่ตะกอน (ทั้งนี้เพื่อการันตีว่า “ค่ายหนองคาย” นี้ระบบกรองเขา “สุดยอด” เพราะทุก Shot ที่เห็นนี้เป็นแบบเสริม เป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากอุปกรณ์มาตรฐานที่มากับตัวอ่างอย่างแรงครับ)
40. มีโซนรักษาปลาป่วยด้วยโดยตู้ปลาที่เตรียมไว้ในโซนนี้เป็นตู้ 2 ชั้น 2 ใบ ขนาด 48 20 20 ณ ตอนที่ NC. ไปเที่ยวชม พี่แอร์กำลังแยกปลาแดง Munjul F5 ออกมารักษาตัวหนึ่งเนื่องจากมีอาการหลังลอยน้ำ
41. แต่ตอนนี้เจ้า Munjul F5 ตัวดังกล่าวมีอาการดีขึ้นแล้ว จากภาพที่แนบมาสามารถเห็นได้ว่าปลาว่ายน้ำดีเป็นปกติ พี่แอร์บอกว่า “รอมันกินซักหน่อย ให้ดูแข็งแรงขึ้นอีกนิดแล้วค่อยเอาไปลงอ่างอีกครั้ง ถ้ายังไม่กินลงไปตอนนี้เกรงว่าจะโดนรุมฟัด เดี๋ยวต้องแยกมารักษาข้างนอกคราวนี้ล่ะเรื่องใหญ่เลย”
=> ถูกครับ เรื่องนี้เรื่องจริง สำหรับเพื่อนสมาชิกที่เลี้ยงปลาชนิด Com. Tank หรือปลาฝูง หากนำปลาออกมาแยกรักษา ก่อนนำกลับไปลงในฝูงรวมอีกครั้ง NC. แนะนำให้ท่านมีความมั่นใจก่อนนะครับว่าปลาแข็งแรงดี อย่างน้อยที่สุดก็เห็นว่าเขาเริ่มกินแล้วจึงค่อยเอาลง ไม่งั๊นลงไปทั้งที่ยังอ่อนแอ (เพิ่งหายป่วย) อาจโดนทำร้ายสาหัสต้องแยกออกมารักษาข้างนอกอีกครั้งก็เป็นได้ และยิ่งแยกออกมานานเท่าไหร่ยิ่งกลับไปได้ยากเพราะช่วงเวลารักษา ปลาจะไม่กิน ในขณะที่ตัวอื่นๆ ในฝูงยังกินดีต่อเนื่อง กลับไปอีกทีอาจจะคนละไซส์กันได้ครับ
เอาล่ะครับ วันนี้เท่านี้ก่อน พรุ่งนี้ NC. ภาพพร้อม Clip ของปลาแดง F5 แบบเต็มเวอร์ชั่นมาให้ชม โปรดติดตามชมด้วยนะครับ