โดยปกติที่ผ่านมา การรับงานศัลยกรรมตกแต่งปลามังกร ไม่ว่าจะด้วยอาการใดก็ตาม ผมจะทำเพียงคนเดียว (แต่อาจจะมีลูกน้องของเจ้าของปลา หรือเจ้าของปลาเองเป็นผู้ช่วย) เว้นแต่งานใหญ่อย่างเช่น ปลาขนาดเกิน 24 นิ้ว หรืออื่นๆ จะต้องมีผู้ช่วยที่รู้ใจร่วมด้วย แน่นอนครับ งานเสี่ยงที่ผิดพลาดไม่ได้แบบนี้ ไม่มีคำว่า One Man Show และุผู้ช่วยที่ผมไว้วางใจฝีมือมาโดยตลอดก็คือ เพชร (อาจจะเก่งกว่าผมก็ได้ครับ) แต่ปัจจุบันไม่ค่อยได้เจอ วันนี้ผมจึงต้องอาศัยผู้ช่วยรู้ใจมือใหม่ ไม่ใช่ใคร… แฟนผมเอง อิอิ เอาล่ะครับ เมื่อวานนี้คุยกันถึงเรื่องอาการปลา และขั้นตอนวิธีการทำ วันนี้เรามาชมรายละเอียดกันทุกขั้นตอนเลยนะครับ เริ่มต้นด้วย =>
1. เตรียมอุปกรณ์ : ยาสลบ แอลกอฮอล์ เข็มฉีดยา ถุงย้ายปลา กล่องทำการศัลยกรรม และยาแก้อักเสบ ต้องจัดเตรียมพร้อมให้เรียบร้อย เพื่อจะใด้ทำให้ทุกขั้นตอนไม่ติดขัดครับ
2. ลดน้ำลงจากตู้ : ตู้ใบนี้มีขนาด 60 24 24 ส่วนตัวปลามีขนาดประมาณ 1 ฟุต ระยะปลอดภัยในการลดน้ำ อยู่ที่ไม่น้อยกว่า 1/5 หรือ 20% แต่เพื่อความปลอดภัย เพราะปลาตัวนี้เป็นปลาที่ผมไม่รู้จักนิสัยใจคอ ก็เลยต้องลดมาหน่อย ผมให้เจ้าของปลาช่วยทำการลดน้ำลง 1/4 จากนั้นก็เริ่มทำกาเิิปิดฝากแล้วก็ต้อนปลา
3. ต้อนปลาเข้าถุง : ด้วยอาจจะเป็นความโชคดีของผมกระมัง ที่เจอปลาที่มีนิัสัยดี ไม่ขี้ตื่นตกใจ ไม่พุ่งกระโจนไปกระโจนมา ก็เลยทำให้จับได้ง่าย หลังจากลดน้ำแล้ว เีพียงชั่วอึดใจเดียวก็ต้อนปลาเข้าถุงได้
4. วางยาสลบ : ยาสลบที่ผมใช้คราวนี้ ใช้ชนิดที่มีกานพลูในตัวยา ซึ่งทำให้ปลาไม่ได้สลบเหมือด (เหมือนตัวอื่นๆ) แต่จะทำให้ปลาชา โดยมีความรู้สึกตัวอยู่บ้าง ยาตัวนี้มีข้อดีอย่างหนึ่งคือ ฟื้นตัวเร็วครับ ดังนั้นจึงปลอดภัยมากกว่า ผมใช้วิธีผสมยาสลบลงไปในแก้วน้ำ เพื่อไม่ให้โดนตัวปลาโดยตรง
5. ทำการรักษาปลา : เมื่อปลาสลบแล้ว ผมก็ประคองตัวปลาแล้วค่อยๆ ใช้เข็มฉีดยาดูดเลือดออกจากแก้มทั้ง 2 ข้าง (ครั้งที่แล้วผมก็ทำแบบนี้) แต่คราวนี้น่าแปลกใจตรงที่ดูดแล้วไม่มีเลือดออก ผมก็พยายามหาตำแหน่งอยู่ 2-3 จุดก็ยังไม่ีเลือดออก แต่ก็ยังดีที่ยังมีลมออกมา จากนั้นผมก็ลองกดแก้มดู ปรากฏว่ามีเลือดออกมา แต่ไม่ได้ออกมาจากแก้ม มาจากทางตาแทน (ตอนที่กด ตามบวมมาก ค่อนข้างน่ากลัวครับ) ผมก็ต้องค่อยๆ กดเพื่อให้เลือดออกหมด แต่ด้วยภาพที่ตาบวมออกมา ทำให้เรากดไม่ได้มาก (ช่วงนั้นต้องให้ทั้งแฟนผม แล้วก็เจ้าของปลาช่วยประคองปลา เนื่องจากผมต้องใช้มือทั้งสองข้าง)
*** ต้องยอมรับใจเจ้าของปลาจริงๆ ครับ เจอภาพที่น่ากลัวแบบนี้ ยังตั้งสติอยู่ได้ (ก็เป็นตำรวจนี่ครับ)
6. ฉีดยาแก้อักเสบเข้าไป : เมื่อคัดเลือดออกแล้ว ผมก็ใช้เข็มฉีดยาฉีดยาแก้อักเสบเข้าไปในแก้ม (แทนที่เลือดที่คัดออกมา) ยาแก้อักเสบผมใช้ยี่ห้อ Amoxil Bencard ขนาด 500 mg ผสมครึ่งเม็ดกับน้ำ ฉีดแต่พอดี ไม่มาก ไม่น้อยเกินไปครับ เสร็จแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนทำให้ฟื้น
7. การทำให้ปลาฟื้น : ก็ใช้วิธีปกติที่เคยทำ ก็คือจับปลาจ่อกับฟองออกซิเจน ตัวนี้ใช้เวลาประมาณ 5 นาทีเศษก็ฟื้นตัว ว่ายน้ำได้เป็นปกติครับ
หลังจากปลาฟื้นแล้ว ผมก็นั่งคุยกับพี่จาตุรงค์ไป พลางดูอาการปลาไปด้วย (แล้วก็เก็บภาพ) จนมั่นใจว่าปลาฟื้่นตัวได้ดีแล้ว ผมก็ขอตัวกลับบ้าน ก็เป็นอันสิ้นภารกิจในวันนี้… แต่ใช่ว่า จบแล้วจบเลยนะครับ ทุกวันนี้ผมยังคอยติดตามความคืบหน้าอาการปลาตัวนี้อยู่ ส่วนตัวมีความมั่นใจครับ แต่ก็ตั้งใจว่าถ้าใน 1 สัปดาห์นี้ไม่ดีขึ้น ผมคงจะต้องขอรับปลาตัวนี้มารักษาที่้บ้านเอง ความคืบหน้าจะเป็นยังไง ผมจะ Update ให้ทราบอย่างต่อเนื่องครับผม
Nanconnection