ก่อนหน้าที่จะไปดูต่อกันที่บ่อปลาเล็ก Vincent บอกว่าพวกเราโชคดีมากที่จะได้เห็น Stock สินค้าของของฟาร์ม เพราะโดยปกติแล้วจะไม่เปิดให้คนนอกได้เข้าชม ทำให้พวกเราอดตื่นเต้นกันไมได้ว่าแล้วเขาก็เชิญเราเข้าไปดู ในห้องแห่งนี้ผมเห็นมีตู้ปลาวางเรียงกันหลายใบ (คล้ายกับโรงเก็บปลาที่ด้านหน้า) แต่ไม่ได้มีปลาหมดทุกตู้ บางตู้ก็ว่าง บางตู้ก็เลี้ยงตัวเดียว บางตู้ก็เลี้ยงรวม Vincent จึงชวนเราเข้ามาดูที่ตู้แรกซึ่งเป็นปลาตัวอย่างของ Tong Yan ในขนาดประมาณ 1 ฟุต ผมยอมรับว่าดูเผินๆ ก็ไม่ได้แตกต่างกับทองมาเลย์เท่าไหร่ จะต่างก็ตรงที่เหลือบสีในเกล็ดเห็นได้ว่าเป็นสีเขียวๆ เงาๆ ทุกตัวมีสีตาที่แดงก่ำ Vincent บอกว่าปลาที่คัดขึ้นมานี้เป็นปลา High Quality ทุกตัวเกือบจะข้ามหลังหมดแล้ว สีสันก็จัดได้ว่าดีมาก แต่สำหรับผมแล้วนับว่าเฉยๆ ไม่ได้ตื่นเต้นด้วยเท่าไหร่นัก (ผมมองว่าในบ่อสวยกว่าอีก) ในห้องนี้มีปลาให้ชมไม่มากนัก ผมสังเกตเห็นเจ้า Short Body ตัวหนึ่งว่ายดุ๊กดิ๊กไปมาในตู้ เพราะสีน้ำที่ค่อนข้างเข้ม (ไม่ทราบว่าหมักปลาหรือรักษาโรค) จึงทำให้ดูไม่ออกว่าเป็นสายพันธุ์อะไร ? แต่ก็น่ารักดีครับ นอกจากนี้ก็ยังมี TY ครีบเครื่องใหญ่ยักษ์อีกตัวที่เลี้ยงอยู่ตัวเดียวภายในตู้ ปลาพวกนี้ถือเป็นปลาพิเศษที่ทางฟาร์มเก็บไว้โชว์ ไม่ได้เพื่อจำหน่ายขายออกไป
1. Stock ปลาส่วนพิเศษที่ Vincent ขอพาเข้าชมเอง
2. มีปลาอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน แต่ก็ไม่ครบทุกตู้
NOTE : Vincent ให้ความรู้ว่า Tong Yan จากฟาร์มนี้ ในวัยเล็กประมาณซัก 6-8 นิ้ว จะมีหน้าตาที่ค่อนข้างไม่งามนัก ดูแล้วแทบไม่ต่างกับทองอินโดเลย และเมื่อขนาดทะลุ 1 ฟุตสีสรรจึงจะมา ในช่วงระยะเวลานี้เนื้อสีค่อนข้างจะเอาแน่เอานอนไม่ได้เพราะอยู่ในช่วงที่ปลากำลังจะแปรผันไปตามสายเลือดว่าจะไปทางแดง หรือทางมาเลย์ จนหลัง 15 นิ้วไปแล้วจึงจะมั่นใจได้ว่าปลาจะคงสีสันแบบนั้นตลอดไป
จากนั้น Vincent ก็พามาดูในส่วนของ “บ่อปลาเล็ก” อันเป็นส่วนสุดท้ายที่เราจะเข้าชมกัน บ่อปลาที่ว่านี้เป็นบ่อที่ไว้อนุบาลปลาเล็กที่มีขนาดตั้งแต่ 5-10 นิ้ว ในปลาขนาดนี้ยังแยกเลี้ยงอยู่นะครับ แดงส่วนแดง มาเลย์ส่วนมาเลย์ ทองอินโดส่วนทองอินโด ไม่ปะปนกันเหมือนในบ่ออื่นๆ ภายนอกบ่อมีการวางตาข่ายกันนกไว้อย่างแน่นหนาเพราะลูกปลาขนาดนี้ไม่สามารถที่ปกป้องตัวเองได้ นอกจากนี้ภายในบ่อยังมีต้นไม้น้ำประเภทจอกแหนและใบบัวไว้อยู่ด้วย เพื่อสำหรับบังแดดและเป็นที่หลบซ่อนเมื่อลูกปลาลูกสึกไม่ปลอดภัย บ่อสำหรับปลาเล็กนี้เป็นบ่อปูนเช่นกันครับและมีขนาดแต่ละล๊อคประมาณ 5×5 เมตร (ไม่ทราบความลึกเช่นกันครับ) เลี้ยงลูกปลาได้นับร้อยตัว ว่าแล้ว Vincent ก็โยนอาหารเม็ดลงไปอีกครั้ง ไม่รู้ไปหิวโหยมาจากไหนเหล่าลูกปลาก็โดดกระโจนขึ้นมากินอาหารเป็นการใหญ่ ดีจริงๆ ครับ ผมเองก็อยากให้ปลากินอาหารเม็ดแบบนี้บ้างจะได้ลดการบั่นทอนชีวิตลงไป (อาหารปลาหลักๆ ของฟาร์มนี้ไม่ใช่ลูกกุ้ง ลูกปลา กบวัว หรือหนอนนกเหมือนกับฟาร์มอื่นๆ แต่เป็นอาหารเม็ดที่โยนๆ ให้นี่ล่ะครับ)
3. ตู้นี้เป็น Tong Yan ครับ
4. Short Body Arowana ปลามังกรทรงสั้น
5. ส่วนตัวนี้ดูเหมือนจะเป็นปลาแดงครับ
นอกจากอาสี่จะเลี้ยงปลามังกรเป็นอาชีพแล้ว เขายังมีเลี้ยงปลาอื่นๆ อีกด้วยเช่น อะราไพม่า ปลาอินซีเน็ท (ที่นี่เรียกว่า Fai Feng ตัวในบ่อผมเห็นขนาดเกิน 16 นิ้วด้วยหลายตัว… อินซีเน็ทในฟาร์มนี้ตัวใหญ่กว่าปลามังกรอีก) ปลาแรด และอื่นๆ ดังเห็นว่าจะมีบ่อที่เลี้ยงปลาเหล่านี้แยกไว้ต่างหาก เมื่อเดินชมกันทั่วแล้ว Vincent ก็บอกว่าตอนนี้เย็นมากแล้ว ให้เตรียมตัวไปต่อที่ Qian Hu ซึ่งเป็นฟาร์มสุดท้ายกัน (ไปสายเกินไปเกรงฟาร์มจะปิดเสียก่อน) ก่อนจากกันผมได้มีโอกาสถ่ายภาพกับอาสี่ด้วย รู้สึกดีใจมากจริงๆ ครับ
6. บ่อเลี้ยงปลาเล็ก
7. บ่อปลาเล็กแต่ละบ่อมีปลานับร้อยตัวเหมือนกัน
NOTE : ข้อมูลจาก Vincent กล่าวไว้ว่า ปลา Tong Yan ของ SABF จะไม่มีการส่งออกไปขายนอกประเทศ ขายแต่ในประเทศเท่านั้นโดยมีตัวแทนเพียง 2 เจ้าคือ Qian Hu และ Imperial Palace (ของ Vincent เอง) แต่เมื่อซื้อไปแล้วเขาจะไปขายให้ใคร ส่งต่อที่ไหน ภายใต้ชื่อใหม่ว่าอะไรนั้นก็เป็นอีกเรื่องครับ อย่างไรก็ตาม Vincent บอกว่าโดยปกติแล้วก็ไม่ค่อยได้ส่งออกเท่าไหร่เพราะแค่ความต้องการของผู้ซื้อในประเทศของ Tong Yan จากฟาร์มนี้ก็มีไม่พอขายแล้ว (หูยยย… ขนาดนั้นเชียวรึ !?)
8. ในนี้มีเจ้า “ช่อนยักษ์” ตัวเขื่องหลายตัวอาศัยอยู่
9. ปิดท้ายด้วยการถ่ายภาพร่วมกับอาสี่ ผู้เป็นเจ้าของฟาร์ม
Nanconnection