ตอนที่ 1 http://www.aro4u.com/articles-detail/467
ตอนที่ 2 http://www.aro4u.com/articles-detail/468
ตอนที่ 3 http://www.aro4u.com/articles-detail/469
ในกระทู้ก่อนหน้าผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกหลายท่านได้รู้จักกับ Donut Effect (ปรากฏการณ์เนื้อเกล็ดโดนัท) เรียบร้อยแล้ว คราวนี้เรามาดูปัจจัยของการเกิด Donut Effect ด้วยนะครับ จากประสบการณ์ของผมที่ได้เห็นปลามากมาย ในปลาระดับสูงหลายต่อหลายต่อตัวที่เริ่มต้นมีการเปิดของเกล็ดแถวที่ 5 หรือข้ามหลังแล้ว กลับกลายมาเป็นขอบโดนัทคืนสีเป็นสีคล้ำ ดำ เทา นั้นส่วนใหญ่มีเงื่อนไขดังนี้
1. ปลาตัวดังกล่าวเป็นปลาที่ถูกเลี้ยงใน “สภาพแวดล้อมขาว” มาทั้งชีวิต ตั้งแต่เล็กจนมาถึงขนาดแรกซื้อ (แรกมาเนื้อเกล็ดจะเป็นสีขาว เนื้อมันเงา เน้นการเปิดของเกล็ดแบบเอกฉันท์ชัดเจน ไม่มีข้อกังขา)
2. หลังจากซื้อแล้ว ผู้เลี้ยงปลานำไปเลี้ยงในสภาพแวดล้อมอื่นที่ไม่ใช่ขาวรอบด้าน (ไม่ว่าจะเป็นฉากน้ำเงิน ฉากดำ หรือแม้แต่หลังขาวแต่พื้นดำ) ซึ่งก่อนหน้านั้นอาจได้รับการแนะนำจากผู้ขายให้เลี้ยงไว้ในสภาพแวดล้อมขาวก่อนระยะหนึ่ง แต่อาจไม่ได้ปฏิบัติตามเพราะความไม่นิยมส่วนตัว หรือตู้ที่เตรียมไว้ได้ถูกจัดเป็นสภาพแวดล้อมนั้นแล้ว ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
3. หลังจากเลี้ยงในตู้ที่มีสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้ระยะหนึ่งประมาณ 4 เดือนขึ้นไป เกล็ดแถวที่ 5 หรือเกล็ดแผ่นหลัง จากเนื้อสีที่มีอยู่เต็มแผ่นกลายมาเป็น Donut Effect (ยังคงเปิดสูงอยู่ เพียงแต่เนื้อสีมีน้อยลง) และทำท่าว่าจะลุกลามไปเรื่อยๆ หรือท้ายที่สุดทำให้ความคุณสมบัติของเปิดของเกล็ดนั้นกลายเป็นสีคล้ำ ดำ เทา เต็มพื้นที่ (Back Area Effect)
4. เมื่อนำกลับมาเลี้ยงใหม่ในสภาพแวดล้อมขาวรอบด้าน (หลังขาว พื้นขาว ข้างขาว หรือ “บ่อขุนกระเบื้อขาว”) สามารถทำได้กลับคืนคุณสมบัติเหมือนตอนแรกซื้อได้ (Recovery Effect – ปรากฏการณ์ฟื้นคืนสภาพ) จาก Donut Effect สามารถกลับมาเป็นเป็นเต็มสี เต็มสัน เต็มแผ่นเกล็ดได้เหมือนเดิม
5. แต่การคืนสภาพนั้น ทำได้ด้วยเงื่อนไขเดียวนั่นคือ “การเลี้ยงในสภาพแวดล้อมขาว” เท่านั้น ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่าเมื่อเลี้ยงๆ ไปแล้วสามารถกลับคืนเหมือนเดิมได้เองในสภาพที่แวดล้อมเดิมที่ทำให้เกิด Donut Effect และแม้จะเลี้ยงในสภาพแวดล้อมขาว ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 30 วันในการคืนสภาพ แต่หากปลาที่ใหญ่เกินกว่า 8 นิ้ว จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือนครับ
นี่จึงเป็นข้อสงสัยอยู่ในใจว่า ปลาที่เกิด Donut Effect นั้น เป็นของจริง เป็นสายพันธุ์แท้ เป็นทองแท้ไม่กลัวไฟหรือไม่ ? หรือเป็นของเทียม เป็นของย้อม เป็นของที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา ? ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เพราะยังไม่เห็นปลาใหญ่จากปลาที่เกิด Donut Effect => แค่เลี้ยงๆ ไปแล้ว Drop ไม่ได้เท่าเดิม หัวใจของผู้เลี้ยงก็สลาย ต้องหาทางออกกันจ้าละหวั่นแล้ว ? ดังนั้นน้อยรายที่ยอมรับได้แล้วกลับมาเลี้ยงจนถึงจุดหมายปลายทาง นั่นก็เพราะส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีราคาสูง ซึ่งท้ายที่สุดเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ผู้เลี้ยงก็ต้องเรียกร้องความรับผิดชอบอย่างเป็นธรรมจากผู้ขาย…
แน่นอนครับ เมื่อพี่ป. ของเราทราบว่า ตอนนี้ปลาตัวเองได้รับผลกระทบของ Donut Effect แล้ว ประกอบกับเจ้าของร้านปลาเปิดทางรับผิดชอบให้ หลังจากพี่ป. ใช้เวลาคิดอยู่พักหนึ่ง (เพราะแม้ใจหนึ่งก็อยากจะเปลี่ยนเพราะเสียหายความหวัง ความตั้งใจที่ลงทุนไป แต่อีกใจหนึ่งก็รู้สึกเสียดายที่ปลาตัวนี้เป็นปลาที่น่ารัก กินดี กินเก่ง ว่ายน้ำสวย แล้วก็เป็นที่รักของสมาชิกภายในบ้านด้วย) และเมื่อเปรียบเทียบน้ำหนักได้เสียแล้ว ท้ายที่สุดจึงตัดสินใจเปลี่ยนปลา โดยขอเป็นปลารุ่นเดียวกัน เกรดเดียวกัน แต่เป็นล๊อทใหม่ แล้วเมื่อตัดสินใจได้แบบนั้นแล้วก็แจ้งความประสงค์นี้ไปยังผู้ที่ขายปลาเพื่อปรึกษาหาทางออกต่อไป… ลักษณะการคืนปลาเพื่อขอเปลี่ยนตัวใหม่จะเป็นแบบไหน ? พี่ป. ต้องรับเงื่อนไขใดบ้าง ? และต้องรอดูปลาอีกนานเท่าไหร่ ? ทั้งหมดนี้เพื่อนสมาชิกจะได้ทราบคำตอบในตอนหน้า ติดตามชมด้วยนะครับ
*** ภาพทั้ง 6 ภาพที่แนบมานี้เป็นภาพของปลามังกร 3 ตัวที่ได้รับผลกระทบของ Donut Effect ครับ => ตัวแรกเป็น Blue Base Cross Back ตัวที่ 2 และ 3 เป็น Malaysian Golden Cross Back ซึ่งทั้ง 3 ตัวนี้เล็กๆ ล้วนเป็นปลาที่ Perfect Piece เชียวล่ะครับ