http://www.aro4u.com/articles-detail/473
http://www.aro4u.com/articles-detail/474
http://www.aro4u.com/articles-detail/475
ได้หวาดเสียวกันไปแล้วหนึ่งสำหรับลูกผสม ทองมาเลย์ x แดง ตัวแพง วันนี้มาชมการ Update ของ Hiback Golden กันบ้าง จากกระทู้ข้างต้น (กระทู้แรก) เพื่อนสมาชิกจะเห็นได้ว่า ตอนแรกที่เฮีย ส. ได้ปลาตัวนี้มาเลี้ยง เจ้านี่เป็น Hiback ที่หน้าตาดีมากตัวหนึ่ง สีสันเข้ม การเปิดของเกล็ดดี หุ่นดี ฟอร์มดี สรุปง่ายๆ ว่า “อนาคตไกล” จากนั้นเฮีย ส. ก็นำปลาตัวนี้ไปเลี้ยงอย่างดีในตู้สภาพแวดล้อมสีดำรอบด้านเป็นระยะเวลากว่า 5 เดือน จนตอนนี้จากปลา 6 นิ้ว กลายเป็นปลา 11 นิ้วเต็ม เรามาชมความเปลี่ยนแปลงของเขาด้วยกันนะครับ
ในภาพเป็น Hiback Golden ของเฮีย ส. ซึ่งเป็นตอนที่รับมาอยู่กับผมแล้ว (เนื่องจากต้องการซ่อมอาการบาดเจ็บ) โดยตู้ที่ผมใช้เลี้ยงเป็นตู้ฉากขาว ดังนั้นจึงเห็นตัวปลาได้อย่างชัดเจน โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเพื่อนสมาชิกจะมีความคิดเห็นที่ตรงกันว่าปลาตัวนี้เป็นปลาที่สวยมาก หุ่นทรง และ เนื้อสี เป็นคุณภาพที่หาได้ยากในปัจจุบันนี้ แต่เมื่อมาพิจารณาถึงการเปิดของเกล็ด ก็ต้องรู้สึกแปลกใจว่า “การเปิดของเกล็ดมีน้อยลง” เพราะเกล็ดแถวที่ 5 ทั้งแนวได้รับผลกระทบ Donut Effect คือ ที่วงนอกของขอบเกล็ดแถวที่ 5 เป็นสีคล้ำ ดำ เข้ม ทำให้เนื้อสีในเกล็ดเหลือเพียงแค่กระจุกตรงกลางเท่านั้น ? แต่โดยรวมก็ยังถือว่าปลาตัวนี้เป็นปลาที่เปิดสูงอยู่ดี
*** หากเราไม่ได้เห็นปลาตัวนี้ด้วยกันตั้งแต่เล็กๆ ก่อนว่ามีการเปิดของเกล็ดที่ชัดเจนขนาดไหน ? แล้วมาเห็นภาพปัจจุบันที่เป็นลักษณะนี้ ผมเชื่อว่าหลายท่านก็ยังมีรอยยิ้มได้เพราะมีความเห็นที่ค่อนข้างจะตรงกันว่า “ปลาตัวนี้เกล็ดเปิดดี”
จากวันนี้ก็ยังต้องลุ้นต่อไปว่าในอนาคตจะเป็นแบบไหน ? จะมีการพัฒนาให้กลับมาเปิดสีเต็มเกล็ดเหมือนเดิมหรือไม่ ? หรือจะพัฒนาให้เปิดสูงขึ้นเรื่อยๆ อีก ? หรือว่าจะค่อยๆ ถูก Donut Effect กลืนกินจนคืนดำหายไปเป็น Black Area Effect (เหมือนเจ้าลูกผสม มาเลย์ x แดง) => ถ้าเป็นแบบแรกจะดีมาก ปลาคงจะสวยไม่แพ้ทองมาเลย์เลย ถ้าเป็นแบบหลัง ต่อให้สีดี สีเข้ม แค่ไหนก็คงจะกลุ้มใจเหมือนกันเพราะ “ความพิเศษ” เมื่อวันแรกซื้อมันหายไป ก็เป็นอีกกระทู้ที่ต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์คุณภาพครับ
*** พิจารณาภาพปลาตัวนี้ได้มากขึ้นได้ที่ (จะเห็นทั้งสภาพแวดล้อมแบบตู้ขาว และ ตู้ดำ เปรียบเทียบกัน)
http://www.aro4u.com/articles-detail/477
http://www.aro4u.com/articles-detail/478
http://www.aro4u.com/articles-detail/479
ฝากทิ้งท้ายไว้ : สำหรับอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นบริเวณใบหางของ Hiback ตัวนี้ (ใบหางคดเบี้ยว) เกิดจากการย้ายปลาโดยผู้เลี้ยงเองโดยขาดประสบการณ์ ด้วยเข้าใจว่าทำได้ง่าย ไม่มีอะไรน่าหนักใจ ซึ่งความบาดเจ็บที่ปลาตัวนี้ได้รับก็คือ การที่ใบหางประมาณ 30% หลุดขาดไป (กระโดดในถุง) แล้วขึ้นใหม่ไม่สมบูรณ์ ไม่ได้แนวตรง เหมือนเดิม… สิ่งที่ผมอยากเตือนให้เพื่อนสมาชิกทราบก็คือ การย้ายปลา (รวมถึงการวางยาปลา) ควรจะศึกษาวิธีการให้ดีก่อน หากไม่มั่นใจขอให้เป็นหน้าที่ของผู้ขาย (ร้านที่เราซื้อปลามา) เป็นผู้ทำการย้ายให้ โอกาสที่ปลาจะได้รับความเสียหายจะได้มีน้อยลงครับ